วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ทำบุญโรงพยาบาลสงฆ์

การร่วมทำบุญแด่พระภิกษุสามเณรอาพาธ ณ โรงพยาบาลสงฆ์

เลขที่บัญชีโรงพยาบาลสงฆ์ ที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปร่วม บริจาคบำรุงโรงพยาบาลสงฆ์
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาถนนศรีอยุธยา
บัญชี ฝากออมทรัพย์ เลขที่ 013-1-85026-1
ชื่อบัญชี เงินบริจาคบำรุงโรงพยาบาลสงฆ์

สำหรับธนาณัติ ส่งไปที่
โรงพยาบาลสงฆ์ กรมการแพทย์
445 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400 ประเทศไทย
Email: prh@priest-hospital.go.th
Tel.02-640-9537
Fax.02-354-4287 


  • ด้วยโรงพยาบาลสงฆ์ได้จัดให้มีกิจกรรมการทำบุญในรูปแบบต่างๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ท่านเจ้าภาพผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมกันจรรโลงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา และเพื่อการหาเงินสมทบทุนไว้ดูแลรักษา พระภิกษุสามเณรอาพาธ โดยให้บริการแก่ท่านสาธุชนทั่วไปร่วมทำบุญ บริจาคโดยที่ไม่ต้องแจ้งความประสงค์ไว้ล่วงหน้า เช่น การบริจาคเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ อาทิ บริจาคค่าภัตตาหาร ค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าโลหิต, บริจาคค่าน้ำ-ค่าไฟ และบริจาคบำรุงทั่วไป และการทำบุญ เนื่องในโอกาสต่างๆ เช่น
  • การทำบุญเลี้ยงรุ่น
  • การทำบุญวันเกษียณอายุ ฯลฯ
  • การทำบุญครบรอบวันเกิด
  • การทำบุญครบรอบวันแต่งงาน
  • การทำบุญบังสุกุล
  • การทำบุญสะเดาะเคราะห์
  • พิธีมงคลสมรส
ขั้นตอนการทำบุญ
  • ท่านสามารถแจ้งความจำนงในการทำบุญกับเจ้าหน้าที่แผนกรับจองการทำบุญได้ทุกวัน (ไม่เว้นวันหยุดราชการ) ตั้งแต่เวลา 06.30 น.- 16.00 น. ด้วยโทรศัพท์ หมายเลข 02-3544271-2 และ 02-6409537 ต่อ 3501, 3502
  • เมื่อท่านได้รับการตอบรับแล้ว เจ้าหน้าที่จะเรียนให้ทราบถึงกำหนดการต่างๆและนัดหมายการชำระเงินต่อไป
.

ข้อควรปฏิบัติในการทำบุญในโรงพยาบาลสงฆ์เพื่อให้ถูกต้องตามพระวินัย
  • เจ้าภาพมีความประสงค์จะจัดอาหารมาถวายเอง กรุณาติดต่อกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายโภชนาการ เพื่อถูกต้องตามหลักโภชนาการ และยาที่แพทย์ให้การรักษา (โรงพยาบาลได้จัดเตรียมไว้ให้พร้อมทุกอย่างแล้ว)-
  • โรงพยาบาลสงฆ์ให้บริการการรักษาฟรีแก่พระอาพาธ (ฉะนั้นการถวายปัจจัยกับท่านโดยตรงจึงควรหลีกเลี่ยง)-
การถวายสังฆทานกับพระอาพาธให้ถวายเท่าที่เป็นประโยชน์จริง เพราะพระอาพาธในโรงพยาบาลจะใช้เครื่องใช้ที่จำเป็นเช่น สบู่, ยาสีฟัน, แปรงสีฟัน, มีดโกน, แป้งโรยตัว, ขันน้ำ, ผ้าเช็ดตัว, และกระดาษชำระ ฯลฯ-
เพื่อความสะดวกในการถวายสังฆทาน ขอให้ท่านผู้มีจิตศรัทธานำไปถวายไว้ที่เป็นส่วนกลางที่วิหาร เพราะ
1. สะดวก รวดเร็ว
2. ถวายได้ตั้งแต่ เวลา 08.30 14.00 น. ทุกวัน (ไม่เว้นวันหยุดราชการ)
3. เครื่องสังฆทานที่ถวาย พระอาพาธ จะได้ใช้จริง
นอกจากท่านจะได้ถวายสังฆทานที่ถูกต้องตามพระวินัยแล้ว ท่านยังจะได้กราบนมัสการพระพุทธสัมปทานนิโรคาพาธ พระพุทธปฏิมากร สมัยเชียงแสน, สมัยอู่ทองและสมัยสุโขทัย เพื่อความเป็นสิริมงคล (โบราณเรียก อู่แสนสุข อันเป็นสัญลักษณ์ของสถานที่ที่มีแต่ความสงบสุขร่มเย็นของชาวพุทธ)


การร่วมทำบุญแด่พระสงฆ์สามเณรอาพาธ ณ โรงพยาบาลสงฆ์
การจองถวายภัตตาหารพระอาพาธ บริการได้ 2 เวลา
- เวลาเช้า เริ่ม 06.30 น.
- เวลาเพล เริ่ม 10.30 น.
ค่าภัตตาหารพระอาพาธ รูปละ 40 บาท
กรณีที่เจ้าภาพต้องการนำอาหารถวายพระอาพาธเอง กรุณาติดต่อโภชนากรของโรงพยาบาลสงฆ์
การสั่งจองพิธีมงคลสมรสหมู่ (เวลาเช้า 06.30 น.)
- รับบริการได้วันละไม่เกิน 20 คู่
- รับจัดพิธีรดน้ำสังข์วันละ 5 คู่
อัตราค่าบริการพิธีมงคลสมรสหมู่
- ค่าภัตตาหารวายพระ ค่าจัดสถานที่ (ไม่รดน้ำสังข์) 1,200 บาท
- ค่าภัตตาหารวายพระ ค่าจัดสถานที่ รดน้ำสังข์ ที่หอฉัน 1,700 บาท
- ค่าภัตตาหารวายพระ ค่าจัดสถานที่ รดน้ำสังข์ ที่อาคารมูลนิธิ 3,000 บาท
อุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีรดน้ำสังข์
1. ดอกไม้ ธูป เทียน พร้อมของปัจจัยถวายพระ 9 ชุด (บ่าว-สาว เตรียมมาเอง)
2. มงคลแฝด (โรงพยาบาลมีจำหน่าย) ชุดละ 50 บาท
3. พวงมาลัย คู่บ่าว-สาว 1 คู่ (โรงพยาบาลรับสั่งทำ) คู่ละ 600 บาท
4. พานดอกไม้รองรับน้ำสังข์ 2 พาน (โรงพยาบาลรับสั่งทำ) ชุดละ 600 บาท
รวมเป็นเงิน 1,250 บาท
อาหารเช้าสำหรับเลี้ยงแขก
กาแฟ หรือโอวัลติน และขนม 2 อย่าง 30 บาท (สั่งล่วงหน้า 15 วัน)
- กรุณาชำระเงินค่าบริการให้เรียบร้อยในวันสั่งจอง
- โปรดแต่งกายสุภาพ (ไมสวมเสื้อยืด กางเกงยีนส์ และรองเท้าแตะ)
- สำหรับบ่าว-สาวที่ทำพิธีหลั่งน้ำสังข์ ถ้าต้องการป้ายชื่อต้องจัดเตรียมมาเอง
จัดพิธีสะเดาะเคราะห์บังสุกุลต่ออายุ อุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีที่เจ้าภาพต้องเตรียม
1. ดอกไม้ ธูป เทียน พร้อมของปัจจัยถวายพระ 9 ซอง
2. เทียนขาว หนัก 4 บาท 1 คู่
3. ผ้าขาวยาว 2 เมตร 1 ผืน
การจัดพิธีบังสกุลอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับ อุปกรณ์ใช้ในพิธีที่เจ้าภาพต้องเตรียมมาก
1. ดอกไม้ ธูป เทียน พร้อมซองปัจจัยถวายพระ 9 ซอง
2. โกฐอัฐิ รูปถ่าย หรือชื่อผู้ล่วงลับ (อย่างใด อย่างหนึ่ง)
การจัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ (เพล เวลา 10.00 น.)
  • หอฉัน
  • ห้องพิธีสงฆ์ อาคารมูลนิธิ และอาคารพิธีสงฆ์
เนื่องจากเลือดที่มีผู้บริจาคให้ ร.พ. สงฆ์ นั้นไม่เพียงพอแก่สงฆ์อาพาตที่จำเป็นต้องใช้เลือด ครั้นขอไปที่สภากาชาดไทย ก็ช้าและไม่ได้รับเพียงพอแก่ความต้องการที่แท้จริง จึงขอเรียนมาเพื่อเชิญชวน ชักชวนกันไปร่วมบริจาคโลหิตแก่ ร.พ.สงฆ์

ร.พ. สงฆ์ จะนำโลหิตที่ผู้บริจาคมาบริจาคที่ ร.พ. สงฆ์ ถวายการรักษาโดยไม่คิดมูลค่าแก่พระภิกษุสงฆ์เท่านั้น ( ไม่นำโลหิตส่งต่อไปที่อื่น ) ( นอกจากได้รับมากเกินการใช้งานจริง ) ซึ่งปกติแล้วมีผู้มาบริจาคโลหิตที่ ร.พ. สงฆ์ ในจำนวนไม่กี่คน ทำให้ ร.พ. สงฆ์ ต้องร้องขอโลหิตไปที่สภากาชาดไทย แต่ก็ได้รับไม่มากเท่าที่ควรจะได้ สาเหตุเพราะแม้แต่สภากาชาดไทยเอง ก็ได้รับบริจาคโลหิตไม่เพียงพอแก่การใช้งานของ ร.พ. ทั่วประเทศไทย


สิ่งควรทราบก่อนการจะมาบริจาคโลหิตที่ ร.พ. สงฆ์

๑ สถานที่ ร.พ. สงฆ์ ถนนศรีอยุธยา ตึกพยาธิวิทยา ชั้น ๒ ห้องธนาคารเลือด
๒ ต้องเป็นผู้เคยบริจาคโลหิตของสภากาชาดไทยมาอย่างน้อย ๒ - ๓ ครั้งขึ้นไป
๓ สามารถนำบัตรผู้บริจาคโลหิตของสภากาชาดมาต่อยอดจำนวนครั้งได้ที่ ร.พ. สงฆ์
๔ ก่อนการเดินทางไปบริจาคโลหิตที่ ร.พ. สงฆ์ ต้องโทรศัพท์ไปสอบถามว่า ขณะนี้ต้องการเลือดกรุ๊ฟของผู้บริจาคหรือไม่ ? ที่โทรศัพท์เบอร์ 02-2471825 และ 02-2471826 ต่อ 3622
สาเหตุที่ต้องโทรศัพท์ไปถามก่อน เพราะมีบางครั้งเหมือนกันที่ ร.พ. สงฆ์ ได้รับบริจาคโลหิตกรุ๊ฟใดกรุ๊ฟหนึ่งในจำนวนที่เพียงพอแก่การใช้งาน เมื่อผู้บริจาคเดินทางมาถึง ร.พ. สงฆ์ แล้วทาง ร.พ. จะไม่รับไว้ก็อาจจะเป็นการขัดต่อศรัทธาของผู้บริจาคได้ ครั้นจะรับไว้ในจำนวนที่มากกว่าการใช้งานจริง ก็ไม่สามารถส่งโลหิตนั้นให้แก่สภากาชาดไทยได้ เพราะยังไม่มีกฏระเบียบข้อนี้ระหว่าง ร.พ. สงฆ์กับสภากาชาดไทย ( อนาคตอาจร่างกฏระเบียบข้อนี้เพื่อส่งโลหิตให้แก่สภากาชาดไทยได้ )

รพ.สงฆ์
http://www.priest-hospital.go.th


โรงพยาบาลสงฆ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข 
445 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400 ประเทศไทย
Email: prh@priest-hospital.go.th
Tel.02-640-9537
Fax.02-354-4287
 

คำสมาทานศีล และ หิริโอตตัปปะ

ได้เวลาสมาทานศีลแล้ว !
ขอเชิญสาธุชนชาว FB ร่วมสมาทานศีล และหิริโอตตัปปะ
ถวายเป็นพุทธบูชา ณ บัดนี้ เทอญ.

คำสมาทานศีล และหิริโอตตัปปะ
ศีลนำมาซึ่งความสุข ศีลนำมาซึ่งโภคทรัพย์ ศีลนำมาซึ่งพระนิพพาน ผู้ใดประสงค์ความเจริญในชีวิต พึงดำรงความเป็นปกติ ด้วยตั้งเจตนาแน่วแน่ สมาทานวิรัติรักษาศีล ๕ ด้วยตนเองทุกเช้า-ค่ำ และในระหว่างวัน ให้มีใจจดจ่ออยู่กับศีล คอยตรวจดูว่า ตนได้เผอเรอล่วงศีลข้อใดบ้างหรือไม่ ถ้าไม่ ก็จงโมทนาสาธุกับตนเอง ที่รักษาศีลไว้ได้เป็นอันดี ถ้าระลึกได้ว่าพลาด ทำผิดศีลไป ให้รู้ตัวและสำนึกผิด ขออโหสิกรรมต่อผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการกระทำของเรา แล้วทบทวนสมาทานศีลใหม่ทั้ง ๕ ข้อ ทุกครั้งไป

บทสมาทานศีล ๕ และหิริโอตตัปปะ (ย่อ)

"พุทโธ ธัมโม สังโฆ
ศีลข้อ ๑ ไม่ฆ่าสัตว์
ศีลข้อ ๒ ไม่ลักทรัพย์
ศีลข้อ ๓ ไม่ประพฤติผิดในกาม
ศีลข้อ ๔ ไม่พูดเท็จ
ศีลข้อ ๕ ไม่ดื่มสุราและของมึนเมา

บัดนี้ข้าพเจ้า... ตั้งใจรักษาศีลแล้ว, บัดนี้ข้าพเจ้า... คือผู้มีศีล,
ข้าพเจ้าผู้มีศีล ละอาย ต่อการทำความชั่ว กลัว ต่อผลของบาปกรรม,
ข้าพเจ้าผู้มีศีล มีหิริโอตตัปปะ, มีกายเป็นมนุษย์ มีใจเป็นเทวดา,
เป็นมนุสสเทโว เข้าถึงความเป็นสหาย กับเหล่าเทวดาทั้งหลาย,
ขอเทวดาทั้งหลาย ผู้เป็นสหายของข้าพเจ้า จงปกป้องคุ้มครองรักษา
ให้ข้าพระพุทธเจ้า... และ... (อธิษฐานตามอัธยาศัย และสมควรแก่เหตุ) เช่น
…จงเดินทางโดยสวัสดิภาพ
…จงได้รับความสำเร็จในการติดต่อการงาน
…จงขายดิบขายดีมีกำไรในการค้า
…จงเข้าถึงมรรค ผล นิพพาน ในชาติปัจจุบันโดยเร็วพลันเทอญ.

พระภาสกร ภูริวฑฺฒโน (ภาวิไล) พิจารณาธรรม ๒๔ เมษายน ๒๕๔๙
http://www.facebook.com/bhasakorn.bb

วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Distributor Dharma-Book CD-Dharma

แหล่งจำหน่ายหนังสือธรรมะ - CD ธรรมะ

1. ร้านมหาจุฬาบรรณาคาร   ตึกเล็กไสยจิตต์  วัดมหาธาตุ วัดมหาธาตุฯ ท่าพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กทม 10200
    โทร 02-226-6027-8 ต่อ 1152(หน้าร้าน)
    โทร 0-2623-6303 ถึง 4

2. ร้านเรืองปัญญา  13 ท่าพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กทม 10200
    โทร 02-222-1821, 02-2623-6230

3. ร้านธรรมเจริญ    1 ท่าพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กทม 10200
    โทร 02-221-3209,

4. สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
     223    บำรุงเมือง แขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม   
    105/75 ถนนประชาอุทิศ ซอย 45 แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กทม. 10140             
    โทร. 02 872 9898, 872 7227, 872-8228  แฟกซ์ 02 872 5764         
    E-mail: mailto:LC2YOU@HOTMAIL>COM, LC2YOU@GMAIL.COM

5. บริษัท ตถาตาพับลิเคชั่น จำกัด      รูปภาพ(สำนักพิมพ์สุขภาพใจ)
     14/348-350 หมู่ที่ 10 ถนนพระราม 2 แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร
     http://www.booktime.co.th/app/index.php
     webmaster@booktime.co.th หรือโทร  02-2415-2621

6. ร้านหนังสือมูลนิธิมหามงกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
     241 ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กทม. 10200
     โทร (ุุ66) 02-629-1417, 02-281-1085, Fax. (ุุ66) 02-629-4015

     http://www.mahamakuta.inet.co.th/index2.html

วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555

รวมเลขที่บัญชีบริจาคเพื่อพระสงฆ์อาพาธ

รวมเลขที่บัญชีบริจาคเพื่อพระสงฆ์อาพาธ

0 กองทุนสงฆ์อาพาธ รพ. ฝาง

ธ.กรุงไทย สาขาฝาง

ชื่อบัญชี : กองทุนสงฆ์อาพาธ โรงพยาบาลฝาง

เลขที่บัญชี : 532-0-28110-2

โทรศัพท์ 053-451444, 451144

1 ร.พ. สงฆ์ กรุงเทพ

โทร02-2471825-6, 023544310

ธ. กรุงไทย สาขาถนนศรีอยุธยา

เลขบัญชี 013-1-85026-1

ชื่อบัญชี " เงินบริจาคบำรุง ร.พ. สงฆ์ "

( หากต้องการใบอนุโมทนาแฟกซ์ใบโอนที่เบอร์ 02-3544273 )

หลังแฟกซ์ใบโอนแล้วประมาณ 1 เดือนจะได้รับใบอนุโมทนาบัตร

หมายเหตุ สามารถระบุหรือไม่ระบุก็ได้ 4 วัตถุประสงค์

ค่าภัตตาหารและเลือด, ค่ายา, ค่าเวชภัณฑ์ และบำรุงทั่ว ๆ ไป

เงินที่เข้าบัญชีนี้ ใช้นำไปรักษาพระสงฆ์อาพาธทันที

-------------------------------------------------------

2 มูลนิธิ ร.พ. สงฆ์ กรุงเทพ

โทร 02-3544288 02-3544278

02-6409537 02-3544293 ต่อ 4111 5125

ธ. ทหารไทย สำนักพหลโยธิน

เลขบัญชี 001-2-46180-2

ชื่อบัญชี " มูลนิธิ ร.พ. สงฆ์ "

( หากต้องการใบอนุโมทนาแฟกซ์ใบโอนทีเบอร์ 02-6449779 )

หลังแฟกซ์ใบโอนแล้วประมาณ 2 สัปดาห์จะได้ใบอนุโมทนาบัตร

[ 1,000.- บาทขึ้นไปตั้งชื่อกองทุนได้ จะได้รับใบเสร็จรับเงินและสะสมไป เมื่อไรถึง 5,000.- บาทจะได้รับใบอนุโมทนาบัตรอย่างแข็ง ]

หมายเหตุ สามารถระบุหรือไม่ระบุก็ได้ มีหลายวัตถุประสงค์

ค่าภัตตาหารและเลือด, ค่ายา, ค่ารักษา, ค่าเครื่องมือแพทย์และเวชภัณฑ์และบำรุงทั่ว ๆ ไป

เงินที่เข้าบัญชีนี้ ใช้เฉพาะดอกผลเท่านั้น

-------------------------------------------------------

3 ร.พ. จุฬาฯ

ตึกวชิรญาณวงศ์ ( หอสงฆ์อาพาธจุฬา )

โทร 02-2564505, 02-2564382

ธ. ไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย

เลขบัญชี 045-2-88000-6

ชื่อบัญชี " สภากาชาดไทย "

เมื่อโอนแล้วต้องแฟกซ์ทุกครั้งเพื่อแจ้งวัตถุประสงค์

1.ระบุ 430-0321 " กองทุน 90 ปีเพื่อจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์และค่ายาสำหรับพระภิกษุอาพาธ และ ผู้ป่วยอนาถา "

2.ระบุ 422-0075 " ค่ายา-เวชภัณฑ์-อุปกรณ์การให้โลหิตพระภิกษุอาพาธ "

ร.พ. จุฬาฯ แฟกซ์ 02-2517901

หลังแฟกซ์ใบโอนประมาณ 1 สัปดาห์จะได้รับใบเสร็จรับเงิน

1,000.- บาทขึ้นไปรับใบอนุโมทนาใบใหญ่อย่างแข็ง

20,000.- บาทขึ้นไปเมื่อแจ้งชื่อ-นามสกุลพร้อมรูปมีสิทธิ์สมัครเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์สภากาชาดไทย ได้รับสิทธิมากมายทั้งจาก ร.พ. จุฬาและ ร.พ. สมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา เช่น การลดราคาค่าห้องพักเมื่อเป็นผู้ป่วยในเป็นต้น

-------------------------------------------------------

4 ร.พ. ศิริราช

โทร 02-4198514-7 ศิริราชมูลนิธิ

ธ. กรุงศรีอยุธยา สาขาอรุณอัมรินทร์

ประเภทบัญชีออมทรัพย์

เลขบัญชี 157-1-08108-3

ชื่อบัญชี " ศิริราชมูลนิธิ "

4.1

ธ. ไทยพาณิชย์ สาขาศิริราช

ประเภทบัญชีกระแสรายวัน

เลขบัญชี 016-3-00049-4

ชื่อบัญชี " ศิริราชมูลนิธิ "

.

4.2

ธ. ทหารไทย สาขาราชดำเนิน

เลขบัญชี 002-2-60700-6

ชื่อบัญชี " ศิริราชมูลนิธิ "

.

4.3

ธ. กรุงเทพ สาขาตลิ่งชัน

เลขบัญชี 211-0-15555-9

ชื่อบัญชี " ศิริราชมูลนิธิ "

.

4.4

ธ. กรุงไทย สาขาปิ่นเกล้า

เลขบัญชี 031-004905-9

ชื่อบัญชี " ศิริราชมูลนิธิ "

เมื่อโอนแล้วต้องแฟกซ์ทุกครั้งเพื่อแจ้งวัตถุประสงค์ว่า

เพื่อพระอาพาธศิริราช

ที่เบอร์แฟกซ์ โทร 02-4112423

-------------------------------------------------------

5 ร.พ. วิชัยยุทธ

โทร 02-6186200

ธ. กรุงศรีอยุธยา สาขาคลองประปา

ประเภทบัญชีฝากประจำ 12 เดือน

เลขบัญชี 053-2-07758-2

ชื่อบัญชี " มูลนิธิเพื่อรักษาพยาบาลพระภิกษุอาพาธ ร.พ. วิชัยยุทธ "

" MOONLANITHIPHUEPRAPISU... "

แฟกซ์ 02-2781017

-------------------------------------------------------

6 ที่พักสงฆ์ ก.ม. 27

เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อพระผู้ดูผมยังไม่ได้รับอนุญาตให้โพสต์ได้

ธ. กรุงเทพฯ สาขาประชาชื่น

เลขบัญชี 193-0-10107-4

ชื่อบัญชี " มูลนิธิจันทสาโร ( หลุยส์ ) "

หากต้องการใบอนุโมทนากรุณาโทรศัพท์กราบเรียนถามพระว่าจะให้ทำอย่างไร หรือเขียนจดหมายถามพระ ที่อยู่ 75/15 ซอยแข็งขัน 3 ถนนพหลโยธิน ซอย 64 กทม

-------------------------------------------------------

7 ร.พ. ทุ่งเสลี่ยม จ. สุโขทัย

โทร 055-659072

ธ. กรุงเทพฯ สาขาทุ่งเสลี่ยม

เลขบัญชี 460-0-02275-2

ชื่อบัญชี " วัดพิพัฒน์มงคล "

หากต้องการใบอนุโมทนากรุณาสอบถามก่อน

จุดเด่นของหอสงฆ์อาพาธ ร.พ. ทุ่งเสลี่ยมคือการใช้แพทย์แผนไทยเข้าร่วมการรักษาด้วย เบอร์บัญชีนี้เป็นการสร้างอาคารหอสงฆ์อาพาธแบบชั้นเดียว จำนวน 30 เตียง งบประมาณ 9 ล้านบาท ( หากเงินเกินค่าก่อสร้างจะนำไปใช้ในการรักษาพระภิกษุสงฆ์และประชาชนต่อไป )

จุดเด่นอีกประการหนึ่งคือ ท่านที่ร่วมทำบุญตั้งแต่ 1,000.- บาทขึ้นไปทางวัดพิพัฒน์มงคลจะมอบพระที่สะสมให้เป็นของที่ระลึก

ขณะนี้ตึกสงฆ์อาพาธใกล้เสร็จแล้ว หากแต่ยังขาดปัจจัยค่าอาคารอยู่

กำหนดการเปิดใช้อาคารสงฆ์อาพาธของ ร.พ. ทุ่งเสลี่ยม จะทำการเปิดให้บริการประมาณต้นปี 2553

เมื่อโอนแล้วแฟกซ์ใบโอนที่แฟกซ์เบอร์ 055-659198

หลังแฟกซ์ใบโอนประมาณ 1 สัปดาห์จะได้รับใบอนุโมทนาบัตร

-------------------------------------------------------

8 ร.พ. เลย

อาคารสงฆ์อาพาธและผู้ป่วยใน 6 ชั้น 126 เตียง

พื้นที่ใช้สอย 6,277.5 เมตร จำนวน 1หลัง

ใช้ระยะเวลาดำเนินการก่อสร้าง 2 ปี (ปีงบประมาณ 2552-2553)

งบประมาณการก่อสร้าง 70 ล้านบาท

โดย พระราชญาณวิสุทธิโสภณ (หลวงปู่ท่อน ญาณธโร)

ประธานที่ปรึกษาโครงการ

ธ. ไทยพาณิชย์ สาขาภูเรือ ( จ. เลย )

เลขบัญชี 758-2-00777-4

ชื่อบัญชี " วัดป่าม่วงไข่ "

ดำเนินการโดย หลวงพ่อขันตี ญาณวโร

8.1

ธ. กรุงไทย สาขาเลย

เลขบัญชี 403-1-06404-7

ชื่อบัญชี โรงพยาบาลเลย

ในการโอนเงินเข้าบัญชีนี้ ต้องแจ้งทุกครั้งว่าเป็นการทำบุญสร้างหอสงฆ์อาพาธ

ท่านที่ต้องการใบอนุโมทนาบัตรหรือใบตอบรับสามารถแฟกซ์แจ้งที่หมายเลข FAX : 042-862147 ทางโรงพยาบาลจะจัดส่งให้ตามชื่อที่อยู่และใบนำฝากที่ท่านแจ้ง

-------------------------------------------------------

9 ตึกพิเศษสงฆ์ 94 ปีหลวงปู่ศรี มหาวีโร ( 2 ) ร.พ. ศรีสมเด็จ

โอนแล้วแฟกซ์ใบโอนที่แฟกซ์เบอร์ 043-508151 หรือ 3

( ขอสัญญาณแฟกซ์ หากไม่มีคนรับจะเป็นออโต้ )

หลังแฟกซ์ใบโอนประมาณ 1 สัปดาห์จะได้รับใบอนุโมทนาบัตร

วันที่ 3 พ.ค. 2553 จะมีพิธีมอบตึกสงฆ์อาพาธ

แต่ยังสามารถบริจาคในส่วนอุปกรณ์การแพทย์ได้อยู่ ( ยังไม่จำกัดเวลาการบริจาค )

ตึกศรีมหาวีโร 2 และอุปกรณ์การแพทย์

ขอเชิญร่วมสมทบทุนก่อสร้างตึกศรีมหาวีโร 2 และอุปกรณ์การแพทย์

ณ วัดประชาคมวนาราม ( วัดป่ากุง ) สำนักงานมูลนิธิหลวงปู่ศรีมหาวีโร

สถานที่ก่อสร้าง ร.พ. ศรีสมเด็จ

ธ. ทหารไทย สาขาร้อยเอ็ด

เลขบัญชี 368-2-49705-6

ชื่อบัญชี " พระเจดีย์หลวงปู่ศรี มหาวีโร "

บัญชีนี้จะนำปัจจัยไปสร้างตึกสงฆ์ศรี มหาวีโร 2 ด้วย

และ

ธ. กรุงไทย สาขาร้อยเอ็ด

เลขบัญชี 411-0-79328-9

ชื่อบัญชี " ตึกสงฆ์ศรี มหาวีโร 2 "

บัญชีนี้ใช้ปัจจัยสร้างเฉพาะตึกสงฆ์ศรี มหาวีโร 2 และอุปกรณ์การแพทย์

พระภิกษุผู้ประสานงานโทร 089-2752059

-------------------------------------------------------

10 ร.พ. ศรีนครินทร์ ม. ขอนแก่น

ธ. ทหารไทย สาขาบ้านผือ

เลขบัญชี 362-2-36452-3

ชื่อบัญชี " กองทุนหออภิบาลสงฆ์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ร.พ. ศรีนครินทร์ ในอุปถัมภ์วัดป่านาคำน้อย "

บัญชีนี้อยู่ในการดูแลของหลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก วัดป่านาคำน้อย

.

10.1 ร.พ. ศรีนครินทร์ ม. ขอนแก่น

ธ. ไทยพาณิชย์ สาขา มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เลขที่บัญชี 551-408797-6

ชื่อบัญชี " มูลนิธิหออภิบาลสงฆ์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต "

" LUANGPOOMUN P... "

ทุกเดือนจะเบิกจ่ายค่ายา ค่ารักษาพระอาพาธจากบัญชีนี้ก่อน

.

10.2 ร.พ. ศรีนครินทร์ ม. ขอนแก่น

โทร 043-366331

ธ. ไทยพาณิชย์ สาขา ม. ขอนแก่น

เลขบัญชี 551-2-99665-8

ชื่อบัญชี " หอสงฆ์ตึก 19 ชั้น "

บัญชีนี้หากไม่แจ้งวัตถุประสงค์จะใช้ในการซ่อมแซมบำรุงอุปกรณ์การแพทย์สำหรับหอสงฆ์

( หรือแจ้งเพื่อต้องการให้ใช้ในวัตถุประสงค์อื่นใดเกี่ยวกับสงฆ์อาพาธ )

.

10.3 ร.พ. ศรีนครินทร์ ม. ขอนแก่น

ธ. ไทยพาณิชย์ สาขา ม. ขอนแก่น

เลขบัญชี 551-2-450767

ชื่อบัญชี " กองทุนหลวงปู่เทสก์ เทสรังสีเพื่อหอสงฆ์อาพาธ "

กองทุนนี้จะถูกใช้เมื่อกองทุนอื่นเหลือน้อย

หรือติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่

นายนิโรจน์ ประจุดทะสี โทรศัพท์ 043-202-606 และ 043-366-335

โอนแล้วขอสัญญาณแฟกซ์เบอร์ 043-202606 และ 043-366335

หลังแฟกซ์ใบโอนประมาณ 1 สัปดาห์จะได้รับใบอนุโมทนาบัตร

-------------------------------------------------------

11 ร.พ. ๕๐ พรรษามหาวชิราลงกรณ จ. อุบลราชธานี

โทร 045-319300-98

ธ. กรุงเทพฯ สาขาบางรัก

เลขบัญชี 242-0-14567-0

ชื่อบัญชี " มูลนิธิ ร.พ. ๕๐ พรรษามหาวชิราลงกรณ์ "

11.1

ธ. ไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี

เลขบัญชี 026-411418-8

ชื่อบัญชี " มูลนิธิ ร.พ. ๕๐ พรรษามหาวชิราลงกรณ์ "

11.2

ธ. ออมสิน สาขาสาทร

เลขบัญชี 00-0017-20-051732-5

ชื่อบัญชี " มูลนิธิ ร.พ. ๕๐ พรรษามหาวชิราลงกรณ์ "

11.3

ธ. กรุงไทย สาขาการปิโตรเลียม

เลขบัญชี 071-1-22388-2

ชื่อบัญชี " มูลนิธิ ร.พ. ๕๐ พรรษามหาวชิราลงกรณ์ "

11.4

ธ. กสิกรไทย สาขายานนาวา

เลขบัญชี 013-2-64636-8

ชื่อบัญชี " มูลนิธิ ร.พ. ๕๐ พรรษามหาวชิราลงกรณ์ "

11.5

ธ. กรุงไทย สาขาสี่แยกกิโลศูนย์ จ. อุบลราชธานี

เลขบัญชี 287-1-09806-9

ชื่อบัญชี " มูลนิธิ ร.พ. ๕๐ พรรษามหาวชิราลงกรณ์ "

โอนแล้วแฟกซ์ 02-6739940-1

หลังรับแฟกซ์ใบโอนประมาณ 1 สัปดาห์จะได้รับใบอนุโมทนาบัตร

โทรศัพท์ 045-319399, 02-6739940-3

( รายการนี้อยู่ในระหว่างการก่อสร้างอาคารส่วนสุดท้ายและสวนสมุนไพรไทยที่ต่อไปภายภาคหน้าอาจเป็นแพทย์ทางเลือกอีกแผนหนึ่ง )

สำนักงานมูลนิธิ ร.พ. 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ เลขที่ 1648 อาคารมหาเจษฏาบดินทร์ วัดยานนาวา แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

เช็ค/ดร๊าฟ สั่งจ่ายในนาม

" มูลนิธิ ร.พ. 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ "

ธนาณัติ ปณ. กลาง 10501 สั่งจ่ายในนาม

" มูลนิธิ ร.พ. 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ "

-------------------------------------------------------

12 ตึกสงฆ์อาพาธ ร.พ. อุดร

10 ชั้น 200 ล้านบาท

ขณะนี้ทราบว่าได้เงินทำบุญ 335 ล้านบาทแล้วเมื่อ 30 มี.ค. 2553

ค่าอุปกรณ์การแพทย์อีกประมาณ 300 ล้านบาท

รวมเป็นประมาณ 500 ล้านบาท

โทร 042-348890 042-282258

12.1

ธ. กสิกรไทย สาขาเอกมัย

เลขบัญชี 059-2-50100-9

ชื่อบัญชี " ผ้าป่า 84,000 กอง ร.พ. อุดรธานีโดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน "

" PHAPA 84,000 UNIT UDONTANEE HOSPITAL ... "

หรือ 12.2

ธ. กสิกรไทย สาขาอุดรธานี

เลขบัญชี 110-2-20733-3

ชื่อบัญชี " ผ้าป่า 84,000 กอง ร.พ. อุดรธานีโดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน "

หรือ 12.3

ธ. ไทยพาณิชย์ สาขาอุดร

เลขบัญชี 510-4-18734-8

ชื่อบัญชี " ผ้าป่า 84,000 กอง ร.พ. อุดรธานีโดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน "

( โอนต่างสาขาไม่เสียค่าบริการ ถามได้ที่เคาน์เตอร์ธนาคาร )

แฟกซ์ 042-244249

-------------------------------------------------------

13 มูลนิธิหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

โทร 02-4122752

ธ. กรุงเทพฯ สาขาบางกอกน้อย

เลขบัญชี 119-0-20013-7

ชื่อบัญชี " น.ส. มานี ตั้งตรงจิต "

โอนแล้วต้องแฟกซ์ทุกครั้งเพื่อแจ้งวัตถุประสงค์ที่แน่ชัด หากไม่ชัดบัญชีนี้จะเป็นค่ารถ ค่าเดินทางแก่พระ หรือค่าฟอกเลือด หรืออื่น ๆ

.

13.1 มูลนิธิหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ธ. กสิกรไทย สาขาพรานนก

เลขบัญชี 019-2-27502-4

ชื่อบัญชี " มูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต "

โอนแล้วต้องแฟกซ์ทุกครั้งเพื่อแจ้งวัตถุประสงค์ที่แน่ชัด หากไม่ชัดบัญชีนี้จะเป็นค่าจัดถวายภัตตาหารเลี้ยงพระที่มาพักหรือค่าอื่น ๆ

.

13.2 มูลนิธิหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ธ. นครหลวงไทย สาขาจรัลสนิทวงศ์ 35

เลขบัญชี 048-2-31975-9

ชื่อบัญชี " น.ส. มานี ตั้งตรงจิต "

บัญชีนี้หากโอนแล้วไม่แฟกซ์แจ้ง เงินบริจาคในบัญชีนี้จะถูกนำไปใช้เกี่ยวกับพระสงฆ์อาพาธโดยตรง เช่น ค่าฟอกไต ( พระภิกษุที่ล้างไตสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ) ค่ารถค่าเดินทาง ค่ายานพาหนะที่มูลนิธิใช้รับส่งพระอาพาธฉุกเฉินไป ร.พ. ศิริราชพยาบาล เมื่อค่อยยังชั่วก็ย้ายไปอยู่ ร.พ. สงฆ์

.

13.3 มูลนิธิหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ทางมูลนิธิหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้วางมัดจำที่ดินไว้ 341 ตรว. เป็นเงิน 500,000.- บาท ถึงวันที่ 24 ก.ย. 2552 ได้รับเงินบริจาคเพื่อการนี้แล้ว 1 ล้านบาทเศษ ยังขาดปัจจัยอีกประมาณ 14 ล้านบาท จะถึงกำหนดโอนเมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 2553 จึงหวังในความศรัทธาที่ทุกท่านได้มอบให้แก่มูลนิธิหลวงปู่มั่น ภูริทัตโตที่ได้รับใช้พ่อแม่ครูบาอาจารย์ทั่วไป โดยเฉพาะสายหลวงปู่มั่นและสายวัดป่า

จึงขอเรียนเชิญท่านที่มีกำลังศรัทธา กำลังทรัพย์ร่วมทำบุญเพื่อซื้อที่ดินเพิ่ม โดยโอนเงินเข้าบัญชี

ธ. กรุงเทพ สาขาแม็คโครจรัลสนิทวงศ์ 37

เลขบัญชี 086-0-18034-8

ชื่อบัญชี " น.ส. มานี ตั้งตรงจิต "

หรือ

.

13.4

ธ. กรุงไทย สาขาแม็คโครจรัลสนิทวงศ์ 37

เลขบัญชี 864-0-03399-4

ชื่อบัญชี " น.ส. มานี ตั้งตรงจิต "

บัญชีทั้ง 2 เลขด้านบนนี้ใช้เฉพาะการซื้อที่ดินเพิ่มให้แก่มูลนิธิเท่านั้น

-------------------------------------------------------

14 ร.พ. ไทยนครินทร์ ถนนบางนา-ตราด ก.ม. 3.5

โทร 02-3612727 ต่อ 3316

ธ. ไทยพาณิชย์ สาขาบางนา-ตราด ก.ม. 3.5

เลขบัญชี 117-2-06999-4

ชื่อบัญชี " กองทุนหลวงพ่อพุธ ฐานิโยเพื่อพระอาพาธ "

" BUDDHA FOUNDATION ... "

โอนแล้วต้องแฟกซ์แจ้ง 02-3612777

-------------------------------------------------------

15 กองทุนโลกทิพย์

โทร 02-2483291-3

ธ. กสิกรไทย สาขาอโศกดินแดง

เลขบัญชี 049-2-08708-6

ชื่อบัญชี " มงคล เนินอุไร "

โอนแล้วต้องแฟกซ์เพื่อแจ้งวัตถุประสงค์ทุกครั้งว่า เพื่อพระอาพาธ

แฟกซ์เบอร์ 02-2466463

( รายการนี้หากมีพระอาพาธไม่มีค่าเดินทางเข้ากรุงเทพฯเพื่อการรักษาหรือค่าอื่นใด รวมทั้งค่ารักษาสามารถโทรไปแจ้งและขอได้โดยผู้ขอไม่จำเป็นต้องเป็นพระที่ป่วย เพียงแต่ทำตามกติกาของโลกทิพย์เท่านั้น )

-------------------------------------------------------

16 ร.พ. รามาธิบดี

ตึกใหม่ตึกศูนย์การแพทย์สิริกิตต์

โทร 02-2011205 02-2012522 02-2011655

ธ. ไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี

เลขบัญชี 026-2-58200-0

ชื่อบัญชี " ศูนย์การแพทย์สิริกิตต์ "

โอนแล้วแฟกซ์เบอร์ 02-2011481

( รายการนี้ไม่สามารถระบุว่า เพื่อพระอาพาธได้ เพราะเป็นรายการสร้างตึกใหม่ ตึกศูนย์การแพทย์สิริกิตต์ ตึกนี้สร้างเพื่อสาธารณโดยพระภิกษุสงฆ์สามารถมาใช้ได้ด้วย แต่ไม่สามารถว่าจะระบุให้เฉพาะพระสงฆ์ได้ )

-------------------------------------------------------

17 ร.พ. บ้านม่วง อ. บ้านม่วง จ. สกลนคร

สร้างตึกสงฆ์อาพาธ 2 ชั้น 60 เตียง

ธ. กรุงเทพฯ สาขาบ้านม่วง

เลขบัญชี 636-0-19053-9

ชื่อบัญชี " หลวงปู่แฟ๊บ สุภัทโท "

หลวงปู่แฟ๊บ สุภัทโท วัดบ้านดงหวาย อ. บ้านม่วง จ. สกลนคร

-------------------------------------------------------

18 ร.พ. พิจิตร

ตึกสงฆ์อาพาธและหออายุกรรม

โทร 056-611230 ต่อ 1311

ขณะนี้ตึกสงฆ์อาพาธได้สร้างเสร็จแล้ว 90% เศษ

และปิดรับเงินบริจาคร่วมทำบุญสร้างตึกสงฆ์อาพาธแล้ว

หากแต่ทางโรงพยาบาลยังขาดเงินในการจัดหาซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อตึกสงฆ์อาพาธหลังนี้อยู่ ดังนั้นทางโรงพยาบาลจึงได้เปิดบัญชีเพื่อเปิดรับเงินบริจาคร่วมทำบุญจัดหาซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ และหวังในจิตศรัทธาของทุก ๆ ท่าน โดยท่านสามารถโอนเงินเข้าบัญชี

ธ. กรุงไทย สาขาพิจิตร

เลขบัญชี 610-0-22081-4

ชื่อบัญชี " กองทุนซื้อคุรุภัณฑ์ทั่วไปและอุปกรณ์การแพทย์ "

โอนแล้วแฟกซ์ใบโอนที่แฟกซ์เบอร์ 056-611311

1,000.- บาทขึ้นไปได้รับใบตอบขอบคุณและใบอนุโมทนา

-------------------------------------------------------

19 หลวงพ่อทอง จันทสิริ ( เจ้าอาวาสวัดอโศการาม )

หลังการผ่าตัดเนื้องอกในกระเพาะอาหาร ท่านต้องฉันยา Glivec 1 เม็ดทุกวัน เม็ดละ 3,891.- บาท

ธ. กรุงไทย สาขาศรีนครินทร์ ก.ม. 14

เลขบัญชี 253-0-11039-5

ชื่อบัญชี " พระทอง นารีวงษ์ "

( รายการนี้ไม่ออกใบอนุโมทนานะครับ )

-------------------------------------------------------

20 หลวงปู่ถนอม ฐิติธัมโมผู้ผจญวิบากขันติบารมี

ชื่อบัญชีคุณอาภา ก้องสนาม

ธ. กสิกรไทย

เลขที่ 523-2-06789-8

-------------------------------------------------------

21 สร้างตึกสงฆ์อาพาธ ร.พ. แม่ทา จ. ลำพูน

22 เตียง งบ 6 ล้านบาท

ค่าอาคาร 5 ล้านบาท ค่าอุปกรณ์ 1 ล้านบาท

ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ และ

ครูบาคำตั๋น ปัญโญ วัดหม่อนปู่อิ่น อ.ดอยหล่อ

ได้เมตตาเป็นประธาน

.

21.1

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ สาขาแม่ทา จ.ลำพูน

ชื่อบัญชี : กองทุนสร้างตึกสงฆ์อาพาธ รพ.แม่ทา

เลขที่บัญชี : ออมทรัพย์ เลขที่ 447-2-66049-1

ตอนนี้โรงพยาบาลได้เปิดบัญชีเงินฝากอีกบัญชี ดังนี้

.

21.2

ธนาคารกรุงไทย สาขาแม่ทา จ. ลำพูน

เลขที่ 531-0-09861-5

ชื่อบัญชี "กองทุนตึกสงฆ์อาพาธโรงพยาบาลแม่ทา"

โรงพยาบาลแม่ทา โทร. 053-976-000

ถึงวันที่ 23 ก.ย. 2552 ได้รับเงินบริจาคแล้วประมาณ 2 แสนบาทเศษ

โอนแล้วแฟกซ์ใบโอนที่แฟกซ์เบอร์ 053-976019

-------------------------------------------------------

22 ตึกอุบัติเหตุและฉุกเฉินใหม่ ร.พ. สมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน

ร่วมทำบุญสร้างตึกอุบัติเหตุถวายเป็นสังฆทาน เมื่อสร้างเสร็จแล้วพระสงฆ์จึงบริจาคให้กับโรงพยาบาลต่อไป ทำให้ได้บุญหลายต่อ

และถ้าท่านต้องการรับใบอนุโมทนาบัตรเพื่อไปลดหย่อนภาษี โปรดส่งสลิปการโอนเงินพร้อมชื่อที่อยู่ของท่านกลับมาที่หมายเลขแฟกซ์ 02-412-8415

ติดต่อสอบถามได้ที่

พระอาจารย์ทองปาน จารุวณฺโณ 081-290-0519

ผศ. ยุวดี ชาติไทย ( ร.พ.ศิริราช ) 089-816-4343

ร่วมทำบุญได้โดยโอนเงินเข้า

บัญชีออมทรัพย์

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

สาขาย่อยมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์

ชื่อบัญชี " พระทองปาน จารุวัณโณ "

เลขที่ 428-1-10285-2

-------------------------------------------------------

23 รพ. แม่สอด

175/16 ถ. ศรีพานิช อ. แม่สอด จ. ตาก

หอสงฆ์ของ ร.พ. แม่สอดมีห้องพิเศษสำหรับพระภิกษุ 10 ห้องและมีเตียงสำหรับพระภิกษุอาพาธธรรมดาอีก 5 เตียง

ฝ่ายการเงินและพัสดุ

โทร 055-542736

ธ. กรุงไทย สาขาแม่สอด

เลขบัญชี 604-1-52689-4

ชื่อบัญชี " เงินบริจาคเพื่อ ร.พ. แม่สอด "

ต้องระบุวัตถุประสงค์ว่า เพื่อพระอาพาธ ร.พ. แม่สอด หรือจะแบ่งย่อยวัตถุประสงค์ดังนี้

บริจาคเพื่อค่ายาม ภัตตาหาร, เวชภัณฑ์หรือรวม ๆ กันเพื่อพระอาพาธ ร.พ. แม่สอด

โทรสาร 055-542735

หลังแฟกซ์ใบโอนประมาณ 1 สัปดาห์จะได้รับใบอนุโมทนาบัตร

-------------------------------------------------------

24 รพ. มหาราชนครเชียงใหม่

110 ถ. อินทวโรรส อ. เมือง จ. เชียงใหม่

ธ. ไทยพาณิชย์ สาขาคณะแพทยศาสตร์จังหวัดเชียงใหม่

เลขบัญชี 566-2-02332-1

ชื่อบัญชี " ทุนนิธิสงฆ์ รพ. มหาราชนครเชียงใหม่ "

รศ.นพ.วัฒนา นาวาเจริญ

ผู้อำนวยการ รพ. มหาราชนครเชียงใหม่

งานประชาสัมพันธ์

โทร 053-945672

โอนแล้วแฟกซ์ใบโอนที่แฟกซ์เบอร์ 053-947888 ( งานคลัง )

500.- บาทขึ้นไปได้รับใบตอบรับ

1,000.- บาทขึ้นไปได้รับใบอนุโมทนาบัตร

หลังแฟกซ์ใบโอนแล้วประมาณ 20 วันจะได้รับใบเสร็จรับเงิน

-------------------------------------------------------

25 ร.พ. สมเด็จพระยุพราชปัว

70 ม.6 ต. วรนคร อ. ปัว จ. น่าน 55120

กองทุนรักษาสงฆ์

ฝ่ายบริหารทั่วไป

โทร 054-791104, 756407 ต่อ 203

โทรสาร 054-791225

-------------------------------------------------------

26 ร.พ. สงขลา

666 หมู่ที่ 2 ต. พะวง อ. เมือง จ. สงขลา 90100

ธ. กรุงเทพ สาขาห้าแยกจังหวัดสงขลาสะพานติณลสูลานนท์

เลขบัญชี 499-0-45563-8

ชื่อบัญชี " กองทุนตึกสงฆ์อาพาธ ร.พ. สงขลา "

ฝ่ายบริหารทั่วไป

โทร 074-338100 ต่อ 1939, 1049

โทรสาร 074-480058

หลังแฟกซ์ใบโอนประมาณ 1-2 สัปดาห์จะได้รับใบอนุโมทนาบัตร

มูลนิธิตึกพยาบาลสงฆ์โรงพยาบาลสงขลา ใคร่ขอให้พระภิกษุ สามเณร อุบาสิกา ( แม่ชี ) ที่เข้ารับการรักษาที่ ร.พ. สงขลา เตรียมบัตรทอง และ ใบสุทธิ หรือใบบวชของแม่ชี มาแสดงเพื่อใช้สิทธิ ในกรณีที่ทางโรงพยาบาลสามารถใช้สิทธิบัตรทองได้ ก็จะเลือกใช้สิทธิบัตรทองก่อน ส่วนค่ายาหรือค่าอุปกรณ์ที่บัญชีบัตรทองไม่ครอบคลุม ทางกองทุนตึกสงฆ์อาพาธจะออกในส่วนเกินนั้นให้ ในกรณีใช้บัตรทองไม่ได้ก็จะใช้ใบสุทธิหรือใบบวช โดยกองทุนตึกสงฆ์อาพาธ ร.พ. สงขลาจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้เช่นกัน

-------------------------------------------------------

27 ร.พ. คลองสาน อ. คลองสาน จ. ชัยภูมิ

หลวงพ่อสายทอง ลูกศิษย์หลวงปู่ศรี มหาวีโร

เมตตาเป็นประธานที่ปรึกษาฝ่ายสงฆ์

ดำริสร้างโรงพยาบาลคลองสานขึ้นที่อำเภอคลองสานจังหวัดชัยภูมิ

งบประมาณ 40 ล้านบาท ขณะนี้มีผู้ร่วมบุญไปแล้วประมาณ 38 ล้านบาท ยังขาดปัจจัยอีกประมาณ 2 ล้านบาท

กล่องตู้รับบริจาคตั้งอยู่ที่มูลนิธิหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จรัลสนิทวงศ์ 37

( ผมยังไม่ทราบเบอร์บัญชีธนาคารที่เกี่ยวข้อง )

-------------------------------------------------------

28 "ศ. ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร"

(pratom foundation)

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาถนนวิภาวดีรังสิต (ซันทาวเวอร์ส)

บัญชีออมทรัพย์ หมายเลข 348-1-23245-9

-------------------------------------------------------

29 โครงการ:สังฆทานยาสามัญเพื่อวัด/สถานปฏิบัติธรรมที่กันดารทาง EMS

วัตถุประสงค์ : เพื่อจัดหายาสามัญประจำบ้านคุณภาพสูงถวายแด่วัด สำนักสงฆ์ สำนักปฏิบัติธรรมที่กันดารทมายังสถานพยาบาลได้ลำบาก

ผู้รับผิดชอบโครงการ : นพ. ศุภชัย โรจน์ขจรนภาลัย

e-mail ติดต่อ :rojkajorn@hotmail.com

งบประมาณ: สังฆทาน 1 ชุด รวมค่าจัดส่งและกล่องโดยประมาณ 1,000บาท x100 วัด = 100,000 บาท ( มี waiting list อีก 145 วัด =145,000 บาท ขึ้นกับงบประมาณว่ามีเพียงพอหรือไม่) จัดส่งแล้ว 200 กว่าวัด/สำนัก

ชื่อบัญชี

นายศุภชัย โรจน์ขจรนภาลัย เพื่องานพระพุทธศาสนา

ธ. ทหารไทย สาขา ร.พ. ภูมิพล

บัญชี ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 049-276-3230

-------------------------------------------------------

30 โรงพยาบาลนครพนม

โทร.0-4252-0868 ต่อ 1111, 2222, 3333, 4444

ธ. กรุงไทย (สาขานครพนม)

ชื่อบัญชี "กองทุนปรับปรุงห้องพิเศษสงฆ์"

เลขที่บัญชี 408-035531-9

-------------------------------------------------------

31 รพ. สมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย

อ. ด่านซ้าย จ. เลย

โทร 042-891314 และ 042-891276

ศูนย์ประกันสุขภาพ รพ. สมเด็จพระบยุพราชด่านซ้าย โทร 042-891276 ต่อ 555

ธ. กรุงไทย สาขาด่านซ้าย

เลขบัญชี 433-1-20727-7

ชื่อบัญชี " กองทุนพระราชทานเพื่อสงเคราะห์คนยากจนในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี "

-------------------------------------------------------

32 เชิญร่วมทำบุญซื้อที่ดินเพื่อขยายที่พักสงฆ์สุจิตรา พุทธมณฑล สาย 2 กรุงเทพฯ

ที่พักสงฆ์สุจิตราสร้างขึ้นตามดำริหลวงปู่หลุยส์ จันทสาโร วัดถ้ำผาบึ้ง จ. เลย ต้องการขยายพื้นที่เพื่อให้เพียงพอต่อคณะสงฆ์และญาติโยม จำนวน 1 ไร่ 300 ตารางวา ตรว.ละ 15,000.- บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 10 ล้าน 5 แสนบาท โอนเข้าบัญชี

ธ. กรุงเทพ สาขาวังสะพุง จ. เลย

บัญชีเลขที่ 416-0-68760-6

ชื่อบัญชี พระอาจารย์ไสว งามศิริ

-------------------------------------------------------

33 อโรคยศาล วัดคำประมง ตำบลสว่าง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

เป็นสถานที่ที่ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ (ทุกชาติทุกศาสนา) ที่มีความทุกข์อันเกิดจากโรคภัย

ไข้เจ็บที่รุนแรงโดยเฉพาะโรคมะเร็ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการดูแลรักษาได้มาจาก ผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลายร่วมกันบริจาค เริ่มเปิดให้บริการเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ จนถึง พ.ศ. ๒๕๕๓) มีผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดรักษาประมาณ ๑,๙๐๐ คนแล้ว ใช้งบประมาณทั้งสิ้น ๑๐๐ ล้านบาท (ข้อมูลถึงเดือนเมษายน ๒๕๕๓) ซึ่งผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษามาจากทั่วทุกภาคของประเทศไทย รวมทั้งผู้ป่วยชาวต่างประเทศเช่นกัน

อันเนื่องด้วยการรักษาของวัด ไม่เรียกเก็บค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้นกับผู้ป่วยทางวัดซึ่งมีภาระในการใช้จ่าย โดยเฉพาะค่ายารักษามะเร็ง, ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น, ค่าไฟฟ้า, ค่าแรงงาน และค่าใช้จ่ายอื่นๆอีกมากมาย

รายได้ที่จะเข้ามาสนับสนุนจึงมาจากจิตศรัทธาของท่านทั้งหลาย

ชื่อบัญชี    เลขที่บัญชี     ธนาคาร

วัดคำประมง    412-0-01996-9    ธ.กรุงไทย

กองทุนยารักษามะเร็ง    347-2-42533-3    ธ.ทหารไทย

พระธรรมเทศนา    547-2-23040-1    ธ.ไทยพาณิชย์

พระปพนพัชร์ ภิบาลพักตร์นิธี    316-0-35902-6    ธ.กรุงเทพ

พระปพนพัชร์ จิรธัมโม-รถพยาบาล    120-2-04508-8    ธ.กสิกรไทย

พระปพนพัชร์ ภิบาลพักตร์นิธี กองทุนเพื่อโีรงต้มยาอโรคยศาล    145-2-02117-1    ธ.ยูโอบี

โครงการช่วยชีวิตพิชิตมะเร็ง(วัดคำประมง)     442-0-18434-5     ธนาคารกรุงไทย

มูลนิธิอภิญญาณอโรคยศาล     412-0-49694-5     ธนาคารกรุงไทย

วัดคำประมง     442-0-17816-7     ธนาคารกรุงไทย

อโรคยศาล วัดคำประมง     137-2-00863-8     ธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หมายเหตุ

คุณหมอ นพ. อนุสรณ์ ปัญญานุภาพ โทรมือถือ 089-4224330 รพ. จุฬา อาสาเป็นแพทย์ที่ปรึกษาคุยกับผู้ป่วยทางโทรศัพท์มือถือแด่พระภิกษุ สามเณร เถร และแม่ชี ทั่วประเทศไทยโดยไม่ได้คิดค่าตอบแทน

นพ. อนุสรณ์ ปัญญานุภาพยังบอกว่า มีเบอร์โทรศัพท์หมายเลขหนึ่งที่น่าจดและบอกไปยังทุก ๆ คนที่รู้จักรวมทั้งพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกาที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารด้วย คือหมายเลข 1669 เพื่อแจ้งในกรณีที่มีกรณีฉุกเฉินหรืออาพาธหนัก ในกรณีหาค่าเดินทางออกจากป่าไม่ได้ สามารถโทรแจ้งขอความช่วยเหลือ เมื่อหน่วยงานรับทราบแล้วจะได้จัดส่งรถแอมบูล๊านท์เข้าไปรับถึงสถานที่ที่ต้องการให้ไปรับ

วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วิธีเพิ่มกำลังจิต กำลังสติ (หลวงพ่อสำราญ ธัมมธุโร)

ปุจฉา: หลวงพ่อช่วยชี้แนะวิธีเพิ่ม
กำลังจิต เพิ่มกำลังสติ ด้วยครับ


หลวงพ่อกล้วย:
การเพิ่มกำลังให้จิต ถ้าพูดตามหลักธรรมแล้วก็คือ สมถะนั่นแหละ สร้างกำลังจิต หนุนกำลังสติ เข้าไปพิจารณาให้รู้เห็นตามความเป็นจริง ถ้าเราไปพิจารณาได้เลย นอกจากจิตของเราจะสงบแล้ว ถึงสติปัญญาของเราพิจารณาได้ตลอดเวลา อันนี้กลายเป็นปัญญาพิจารณาได้ตลอดเวลา

ถ้าจิตยังเกิดอยู่เค้าเรียกว่าเราต้องดับ ต้องควบคุม แล้วแต่อุบายของแต่ละบุคคลว่า จะดับด้วยวิธีไหน ดับด้วยการกำหนด หรือสร้างความรู้สึกอยู่ที่การหายใจ หรือว่าสร้างความรู้สึกอยู่ที่การเดิน หรือจะใช้อุบายไปทำอย่างอื่น เราพยายามดับตั้งแต่ต้นเหตุ แล้วก็หนุนกำลังสติเข้าไปวิเคราะห์หาเหตุหาผล ถ้าเรายังไม่เห็นนะ

ถ้าเราเห็นอาการของจิต เราก็ต้องตามดูให้รู้เห็นตามความเป็นจริงเสียก่อน แล้วค่อยเอาสติปัญญาไปพิจารณา ให้จิตรับรู้ ทุกเรื่องเขาถึงจะยอมรับได้ ถ้าเราไม่สร้างสะสมกำลังจิต จิตเกิดส่งออกไปภายนอก จิตหวั่นไหว จิตผวา จิตเป็นทาสของอารมณ์ จิตเป็นทาสของกิเลส อันนี้เขาเรียกว่าจิตส่งออกไปภายนอกตลอดเวลา กำลังมันก็ไม่มี ถึงมันจะมีกำลังแต่มันก็ยังอาศัย อำนาจของกิเลสอยู่ ทิฐิของกิเลสอยู่

ถ้าเราแยกรูปแยกนามได้ จิตจะขาดพลังทันที เพราะว่ามันขาดเพื่อน เพื่อนเก่าคือตัวขันธ์ 5 หรือว่าทิฐิที่เกิดจากจิต จะขาดพลัง เหมือนกับว้าเหว่วังเวงเลยทีเดียว เราต้องเจริญสติเข้าไปเป็นเพื่อนของจิต ไปหมั่นพร่ำสอนจิตอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา จิตจะเกิดส่งออกไปข้างนอกเราก็ ดับ จิตจะเกิดยินดียินร้าย จิตหวั่นไหว จิตผวา เราก็ดับ เราก็หยุด ดับ หยุด ให้เค้านิ่ง ให้เขารับรู้ เพราะว่าจิตเป็นธาตุรู้ แต่เวลานี้จิตของเรายังหลงอยู่ เราต้องคลายความหลงเสียก่อน แยกรูปแยกนามก็จะคลายความหลงออกจากใจของเรา แล้วก็สัมมาทิฐิ ความรู้แจ้งเห็นจริงก็จะเปิดทางให้

ตั้งแต่ตื่นนอนขึ้นมา ความรู้ตัวของเราพลั้งเผลอไปซักกี่เที่ยว ซักกี่ครั้ง เพียงแค่การเจริญสติเราก็ยังทำไม่ต่อเนื่อง เพราะความเคยชินเก่า ความคิดเก่า ปัญญาเก่า อาจจะถูกอยู่ในระดับของสมมุติแค่นั้นเอง เราต้องพยายามเจริญความรู้ตัวให้มากๆ พลั้งเผลอเราก็เริ่มใหม่ อย่าไปเกียจคร้านตรงนี้ ถ้าสติหรือว่าความรู้สึกตัวของเรายังรู้ไม่เท่าทันจิตกับความคิด หรือว่าอาการของขันธ์ 5 แยกออกจากกัน กำลังสติความรู้สึกตัวของเราจะพลั้งเผลอ ถ้าเราแยกกันได้แล้ว ถ้าเราสังเกตจิตของเราคลายออกจากความคิดแล้ว กำลังสติของเราจะตามทำความเข้าใจ การเกิดการดับของขันธ์ 5 หรือว่า รู้อนิจจัง ทุขขัง อนัตตา ในขันธ์ 5 ทุกเรื่อง ถ้าเราหมั่นวิเคราะห์พิจารณาตามดู กำลังสติก็จะมากขึ้น มากขึ้น จนยับยั้งไว้ไม่อยู่ จนกลายเป็นมหาสติ ถ้าเราไม่พิจารณาเค้าก็กลับคืน สู่สภาพเดิม มันก็มีไม่มาก ถ้าเราจะเอาจริงๆ มีไม่มาก แล้วก็ไม่ยากด้วย

แต่พวกเราทำให้ยาก เพราะว่าอยู่ภายในกาย ภายในใจ ของเรานี่แหละ ไม่ได้อยู่ที่ไหน เอาเรื่องนู้นมาปิดเอาไว้ เอาเรื่องนี้มาปิดเอาไว้ จิตมันก็ปกปิดของเขาเอาไว้อีก ขันธ์ 5 ก็มาปิดเอาไว้อีก นิวรณ์ก็มาปิดเอาไว้อีก กายเนื้อก็มาปิดเอาไว้อีก ภาระหน้าที่การงานภายนอกก็มาปิดเอาไว้อีก มันหลายชั้นหลายขั้นหลายตอน

อันนี้อยากจะให้ชี อธิบายเรื่องหัวหอมให้ฟังก็ดี เพราะว่าชอบปลอกหัวหอม ชอบเข้าครัว ปลอกไปปลอกมาก็เห็นจิตของตัวเอง มันมีหลายชั้นหลายขั้นหลายตอน เห็นจิตแล้วก็หลงดีใจอยู่อย่างนั้น เป็นปลื้ม จิตก็เกิดอยู่อย่างนั้น แต่มันไม่ยึด ทำยังไงเราถึงดับการเกิดเข้าไปอีก ไม่ต้องการให้จิตเกิดไปก่อภพ ก่อชาติอีก จิตเค้าได้ก่อในภพของมนุษย์เราจึงได้เกิดเป็นมนุษย์ เราก็ต้องทำความเข้าใจในจุดนี้ ถ้าคนเราจะรู้ความเป็นจริงแล้ว เราต้องขยันหมั่นเพียร ตั้งแต่เริ่มแรก เริ่มในการเจริญสติ มีศรัทธาน้อมกายเข้ามา น้อมใจเข้ามาในความเสียสละ ความอดทน มีความยินดีในการเสียสละ มีความพอใจในการฝึกฝนของตนเอง หมั่นฝักใฝ่ หมั่นสนใจ ถ้ารู้แล้วเห็นแล้วจะสนุก ฝึกเพื่อดู เพื่อรู้ เพื่อทำความเข้าใจ แล้วก็รู้ความจริงแล้วก็วางให้หมด มีไม่มากหรอก ถ้าคนเราจะเอา ฟังนิดเดียวไปเร่งทำความเพียรเอา


----------------------------------------------

พระธรรมคำสอนของหลวงพ่อสำราญ ธัมมธุโร (หลวงพ่อกล้วย)

วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การเตรียมตัวก่อนบริจาคโลหิต

คุณสมบัติผู้บริจาคโลหิต


1. มีน้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป
2. อายุระหว่าง 17 ปี ถึง 60 ปีบริบูรณ์ ( ถ้าเป็นผู้บริจาคครั้งแรกต้องอายุไม่เกิน 55 ปี)
3. มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว ไม่อยู่ระหว่างไม่สบายหรือรับประทานยาใดๆ
4. ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ หรือติดยาเสพติด
5. สตรีไม่อยู่ในระหว่างมีประจำเดือน ตั้งครรภ์หรือ ให้นมบุตร และไม่มีการคลอดบุตรหรือแท้งบุตรภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา

การเตรียมตัวก่อนบริจาคโลหิต
-นอนหลับให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อเนื่อง ในเวลาปกติคืนก่อนวันบริจาค
-รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และยาธาตุเหล็กเพิ่ม
-รับประทานอาหารมื้อหลักก่อนมาบริจาคโลหิต หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เนื่องจากจะทำให้สีของพลาสมาผิดปกติเป็นสีขาวขุ่น ไม่สามารถนำไปใช้ได้
-ดื่มน้ำ 3-4 แก้ว และเครื่องดื่มเหลวเพิ่ม เช่น น้ำผลไม้ นม น้ำหวาน เพื่อเพิ่มปริมาณโลหิตในร่างกาย จะช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อน เช่น มึนงง อ่อนเพลีย หรือวิงเวียนศีรษะภายหลังบริจาคโลหิต หลีกเลี่ยงชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
-งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนบริจาค
-งดสูบบุหรี่ ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี

ขณะบริจาคโลหิต
-สวมใส่เสื้อผ้าที่แขนเสื้อไม่คับเกินไป สามารถดึงขึ้นเหนือข้อศอกได้อย่างน้อย 3 นิ้ว
-เลือกแขนข้างที่เส้นโลหิตดำใหญ่ชัดเจน ที่สามารถให้โลหิตไหลลงถุงได้ดี ผิวหนังบริเวณที่จะให้เจาะ ไม่มีผื่นคัน หรือรอยเขียวช้ำ ถ้าแพ้ยาทาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทราบล่วงหน้า
-ทำตัวตามสบาย อย่ากลัว หรือวิตกกังวล
-ไม่ควรเคี้ยวหมากฝรั่ง หรืออมลูกอมขณะบริจาคโลหิต
-ขณะบริจาคควรบีบลูกยางอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้โลหิตไหลได้สะดวก หากมีอาการผิดปกติ เช่น ใจสั่น วิงเวียน มีอาการคล้ายจะเป็นลม อาการชา อาการเจ็บที่ผิดปกติ ต้องรีบแจ้งให้พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ในบริเวณนั้นทราบทันที
-หลังบริจาคโลหิตเสร็จเรียบร้อย ห้ามลุกทันที ให้นอนพักสักครู่จนกระทั่งรู้สึกสบายดี จึงลุกไปดื่มน้ำ และรับประทานอาหารว่างที่จัดไว้รับรอง

หลังบริจาคโลหิต
-ดื่มน้ำมากกว่าปกติ เป็นเวลา 1-2 วัน
-หลีกเลี่ยงการทำซาวน่า หรือออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อมากๆ งดใช้กำลังแขนข้างที่เจาะ รวมถึงการหิ้วของหนักๆ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ภายหลังการบริจาคโลหิต
-ถ้ามีอาการเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม หรือรู้สึกผิดปกติ ให้รีบนั่งก้มศีรษะต่ำระหว่างเข่า หรือนอนราบยกเท้าสูงจนกระทั่งมีอาการปกติจึงลุกขึ้น และเดินทางกลับ ป้องกันอุบัติเหตุจากการล้ม
-ถ้ามีโลหิตซึมออกมาจากรอยผ้าปิดแผล อย่าตกใจ ให้ใช้นิ้วมืออีกด้านหนึ่งกดลงบนผ้าก๊อส กดให้แน่นและยกแขนสูงไว้ประมาณ 3-5 นาที หากยังไม่หยุดซึมให้กลับมายังสถานที่บริจาคโลหิตเพื่อพบแพทย์หรือพยาบาล
-ผู้บริจาคโลหิตที่ทำงานปีนป่ายที่สูง หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ควรหยุดพัก 1 วัน
-รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และยาธาตุเหล็กที่ได้รับวันละอย่างน้อย 1 เม็ด จนหมด เพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็ก

ขั้นตอนบริจาคโลหิต
ขั้นตอนที่ 1 กรอกแบบฟอร์มผู้บริจาคโลหิต
*ควรให้ข้อมูลตรงตามความเป็นจริงของผู้บริจาค จะทำให้ได้โลหิตที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นทั้งต่อตัวผู้บริจาคเอง และตัวผู้ป่วย รวมทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในการรับบริจาคโลหิต

ขั้นตอนที่ 2 ตรวจร่างกาย วัดความดันโลหิต และความเข้มโลหิต
*บุคลากรทางการแพทย์ จะสอบถามประวัติผู้บริจาคเพิ่มเติม เพื่อวินิจฉัยเบื้องต้นว่าท่าน มีสุขภาพพร้อมที่จะบริจาคโลหิตหรือไม่ โปรดอย่าปิดบังข้อมูลเรื่องสุขภาพ หรือเขินอายที่ จะตอบคำถาม

ขั้นตอนที่ 3 ลงทะเบียนรับหมายเลขถุงบรรจุโลหิต ที่เคาน์เตอร์ทะเบียน


ขั้นตอนที่ 4 บริจาคโลหิต ที่ชั้น 2


ขั้นตอนที่ 5 พักรับประทานอาหารว่าง/เครื่องดื่ม
*หลังบริจาคโลหิตจำเป็นต้องดื่มเครื่องดื่มที่เจ้า หน้าที่จัดไว้บริการให้ และนั่งพักสักระยะหนึ่ง เพื่อให้ร่างกายได้ปรับสภาพน้ำในร่างกาย เมื่อปกติดีแล้วจึงเดินทางกลับ



ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
ที่อยู่ : 1871 ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ 0 2263 9600-99 โทรสาร 0 2255 5558
เว็บไซต์ : www.blooddonationthai.com อีเมล์ : blood@redcross.or.th


20 คำถามก่อนบริจาคเลือด

20 คำถามก่อนบริจาคเลือด 


สภากาชาด และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

แม้ว่าการบริจาคเลือดจะทำให้ผู้บริจาครู้สึกติ อิ่มเอมใจที่ได้ทำกุศล เพราะได้แบ่งปันและช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน แต่ก็ใช่ว่าทุกๆ คนสามารถไปบริจาคเลือดได้ เพราะว่าการบริจาคเลือดนั้นคุณต้องเสียเลือดในร่างกายจำนวนไม่น้อย ซึ่งอาจส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพของคุณเองหลังบริจาคได้เหมือนกัน หรือในทางตรงกันข้ามหากว่าเลือดของคุณไม่สมบูรณ์และอาจมีเชื้อโรคก็อาจทำให้ผู้ที่ได้รับเลือดของคุณติดเชื้อที่อยู่ในเลือดของคุณตามไปด้วย แต่เมื่อมีความตั้งใจจะบริจาคแล้ว มีคำถาม 20 ข้อ ที่คุณต้องตอบตัวเองก่อนว่าสภาพร่างกายของคุณพร้อมแล้ว หรือเลือดของคุณพร้อมที่จะมอบเพื่อต่อชีวิตผู้อื่นได้อย่างปลอดภัยหรือไม่ ดังนี้

1. สุขภาพสมบูรณ์พร้อมที่จะบริจาคเลือด อายุระหว่าง 17-60 ปี

2. นอนหลับเพียงพอไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง

3. มีอาการท้องเสีย ท้องร่วงภายใน 7 วันก่อนบริจาคเลือดหรือไม่ เพราะผู้บริจาคจะอ่อนแอรับประทานไป ส่วนผู้รับเลือดอาจได้รับเชื้อที่มากับเลือดได้ด้วย
4. ใน 3 เดือนที่ผ่านมา มีอาการน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งอาจมีสาเหตุจากโรคเบาหวาน ธัยรอยด์เป็นพิษ เครียด วิตกกังวล ก็ไม่ควรบริจาคเลือด

5. ภายใน 3 วันก่อนบริจาคเลือด คุณรับประทานยาแอสไพริน ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาแก้ปวดข้อหรือไม่ เพราะอาจทำให้มีเกล็ดเลือดผิดปกติได้ เลือดแข็งตัวช้า บวมช้ำง่าย เลือดที่บริจาคไปก็จะไม่มีคุณภาพ




6. รับประทานยากแก้อักเสบภายใน 14 วัน หรือยาอื่นๆ หรือไม่ ซึ่งต้องระบุ ให้ทราบ เพราะผู้บริจาคเลือดที่ได้รับยาแก้อักเสบแสดงว่ามีการติดเชื้ออยู่ ซึ่งอาจแพร่เชื้อเข้าสู่กระแสเลือดของผู้รับเลือดและอาจทำให้แพ้ยาได้

7. คุณเป็นโรคหอบหืด ลมชัก โรคผิวหนังเรื้อรัง ไอเรื้อรัง วัณโรค โรคภูมิแพ้ หรือไม่เพราะการบริจาคเลือดทำให้ต้องสูญเสียเลือดอย่างรวดเร็ว อาจจะกระตุ้นให้มีการกำเริบได้ จึงไม่ควรบริจาคเลือด โรคผิวหนังบางชนิด โรคติดต่ออย่างวัณโรค ไอเรื้อรังก็ไม่ควรบริจาคเลือด

8. เคยเป็นหรือมีคนในครอบครัวเป็นโรคตับอักเสบ ผู้ที่เคยเป็นโรคตับอักเสบแล้วไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นชนิดใด หรือไม่แน่ใจว่าหายขาดไม่มีเชื้อแล้วหรือไม่ ก็ควรเลื่อนการบริจาคเลือดออกไปจนกว่าจะทราบว่าเลือดของคุณปลอดเชื้อแล้ว

9. เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจ ไต ธัยรอยด์ มะเร็ง โรคโลหิตออกง่ายหยุดยาก เป็นต้น เพราะโรคเหล่านี้ล้วนมีผลต่อสุขภาพ ซึ่งต้องใช้ยารักษาควบคุมรักษาอย่างต่อเนื่อง และถ้าไม่ดูแลตนเองให้ดี อาจมีผลข้างเคียงของยาหรือมีโรคแทรกซ้อนที่ทำให้มีปัญหาสุขภาพได้ ควรพิจารณาดังนี้

- โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานอนุโลมให้บริจาคเลือดได้ ถ้าใช้ยาควบคุมได้ดีอย่างอย่างต่อเนื่องและต้องเป็นเพียงโรคใดโรคหนึ่งเท่านั้น
- โรคหัวใจทุกชนิดต้องงดบริจาคเลือด
- โรคไตชนิดเรื้อรังต้องงดบริจาคเลือด ถ้าเป็นชนิดอักเสบเฉียบพลัน และรักษาหายขาดภายใน 1 ปี สามารถบริจาคเลือดได้
- โรคธัยรอยด์ชนิดไม่เป็นพิษต้องรักษาหายแล้ว ถ้าเป็นชนิดเป็นพิษแม้รักษาหาย และหยุดยาแล้วก็ไม่ควรบริจาคเลือด
- โรคมะเร็งทุกชนิดไม่ควรบริจาคเลือด รักษาหายแล้วก็ตาม เพราะไม่สามารถทราบสาเหตุและตำแหน่งการกระจานหรือแฝงตัวของโรค
- โรคโลหิตออกง่าย-หยุดยาก เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ ควรงดบริจาคเลือด เพราะมีโอกาสเสียชีวิตเพราะเสียเลือดมากและเลือดหยุดยาก
- โรคเรื้อรังอื่นๆ ควรงดบริจาคเลือด

10. ถอนฟันภายใน 3 วันที่ผ่านมา เหงือกอาจจะอักเสบและมีบาดแผลในช่องปาก เป็นทางนำเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือดได้

11. คุณหรือคู่ของคุณมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศกับผู้อื่น ซึ่งมีโอกาสติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์สูง โรคบางชนิดมีระยะฟักตัวนาน อาจตรวจไม่พบเชื้อ เช่น HIV

12. ได้รับการผ่าตัดใหญ่ภายใน 6 เดือนหรือผ่าตัดเล็กภายใน 1 เดือน เนื่องจากการผ่าตัดใหญ่ทำให้มีการเสียเลือดมาก ร่างกายต้องใช้เวลาและสารอาหารในการซ่อมแซม ควรงดบริจาคชั่วคราว ส่วนผ่าตัดเล็กที่เสียเลือดไม่มาก ควรรอให้แผลหายก่อนค่อยบริจาคเลือด

13. เจาะหู สัก ลบรอยสัก ฝังเข็ม ในระยะ 1 ปี มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อโรคติดเชื้อที่มีการส่งต่อทางเลือดและน้ำเหลือง ซึ่งผู้ที่ได้รับเลือดอาจติดไปด้วย

14. เคยมีประวัติยาเสพติดหรือพ้นโทษในระยะ 3 ปี มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อโรคที่มีการส่งต่อทางเลือดและน้ำเหลือง

15. เคยเจ็บป่วยและได้รับเลือดจากผู้อื่นในระยะ 1 ปีที่ผ่านมา ผู้ที่ได้รับเลือดคนอื่นจะมีการสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาในระบบโลหิต ถึงแม้จะมีการตรวจหากลุ่มเลือดหลักที่เข้ากันได้ แต่กลุ่มย่อยที่ไม่สามารถหาได้ตรงกันหมด ก็ยังคงเป็นปัญหาของผู้ได้รับเลือด

16. เคยฉีดวัคซีนในระยะ 14 วัน หรือฉีดเซรุ่มในระยะ 1 ปีที่ผ่านมา การฉีดวัคซีนเป็นการกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันโรคในช่วง 14 วัน จึงควรให้ร่างกายได้ทำงานเต็มที่ การฉีดเซรุ่มต้องติดตามดูโรคนั้นๆ 1 ปี

17. เคยเข้าไปในพื้นที่ที่มีเชื้อมาเลเรียชุกชุมในระยะ 1 ปี หรือป่วยเป็นมาเลเรียในระยะ 3 ปี ถ้าไม่ได้รักษาให้หายขาด เชื้อสามารถแอบแฝงอยู่ในร่างกายโดยไม่ได้แสดงอาการรุนแรง

18. คุณผู้หญิงที่อยู่ในระหว่างรอบเดือน ไม่ควรให้ร่างกายมีการเสียเลือดซ้ำซ้อน ควรรอให้หมดประจำเดือนก่อน

19. คนที่คลอดบุตรหรือแท้งบุตรภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา จะมีการเสียเลือดมาก ร่างกายต้องการเวลาในการปรับตัวและสร้างเลือดขึ้นมาใหม่ ควรงดบริจาค 6 เดือน

20. อยู่ในระหว่างให้นมบุตรหรือตั้งครรภ์ น้ำนมผลิตขึ้นมาจากเลือด การเสียเลือดในการบริจาคจะทำให้น้ำนมลดน้อยลงหรือหมดไป

พิจารณาจบ 20 ข้อนี้แล้ว สำหรับคุณที่ผ่านเกณฑ์ว่ามีเลือดมาตรฐานก็ยินดีด้วย แต่สำหรับคุณบางคนที่ยังไม่แน่ใจก็อย่าเสียใจที่ไม่ได้ทำกุศลยิ่งใหญ่นี้เลย เพราะยังมีอีกหลายทางให้คุณได้เผื่อแผ่บุญกุศลค่ะ



ที่มาข้อมูล :นิตยสาร Health Today

วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555

คำบูชาพระ คำอาราธนาศีล 5 สมาทานศีล ๕

คำบูชาพระ, คำอาราธนาศีล 5, สมาทานศีล ๕



คำบูชาพระ
อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ
อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อะภิปูชะยามิ
อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อะภิปูชะยามิ

คำนมัสการพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมา สัมพุทโธภะคะวา พุทธังภะคะวันตัง อภิวาเทมิ(กราบ)
พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์ดับเพลิงกิเลส
เพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ข้าพเจ้าขออภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ)
สะวาขาโต ภะคะวะตาธัมโม ธัมมังนะมัสสามิ(กราบ)
พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า,
ตรัสไว้ดีแล้ว , ข้าพเจ้าขอนมัสการ พระธรรม (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ(กราบ)
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า,
ปฏิบัติดีแล้ว ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

คำขอขมาพระรัตนตรัย
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะฯ (ว่า 3 จบ)
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเตฯ
(ถ้าหลายคนว่า … ขะมะตุโน ภันเต ฯลฯ)


หากข้าพระพุทธเจ้า ได้เคยประมาทพลาดพลั้งล่วงเกินต่อพระรัตนตรัย อันมีพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระธรรมและพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ในชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดีด้วยทางกายก็ดี หรือวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี และมีเจตนาก็ดี ไม่มีเจตนาก็ดี ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี ขอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระธรรม พระอริยสงฆ์ทั้งหลาย และผู้มีพระคุณทุกท่าน ได้โปรดอดโทษให้แก่ข้าพระพุทธเจ้า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

คำอาราธนาศีล 5
มะยังภันเต วิสุงวิสุง รักขะนะธายะ ติสะระเน นะสะหะ ปัญจะ ศีลานิยาจามะ
(ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอศีล 5 พร้อมกับสรณะ 3)
ทุติยัมปิ มะยังภันเต วิสุงวิสุง รักขะนะธายะ ติสะระเน นะสะหะ ปัญจะ ศีลานิยาจามะ
(ท่านผู้เจริญ แม้นในวาระที่ 2 ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอศีล 5 พร้อมกับสรณะ 3)
ตะติยัมปิ มะยังภันเต วิสุงวิสุง รักขะนะธายะ ติสะระเน นะสะหะ ปัญจะ ศีลานิยาจามะ
(ท่านผู้เจริญ แม้นในวาระที่ 3 ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอศีล 5 พร้อมกับสรณะ 3)

(ถ้าคนเดียวเปลี่ยนจากคำว่า "มะยัง" เป็น "อะหัง" และ "ยาจามะ" เป็น "ยาจามิ")
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////

สมาทานศีล๕
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ
(ว่า ๓ จบ)
(ขอนอบน้อมต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ไกลจากกิเลสควรแก่การกราบไหว้บูชา
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง ฯ)
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
(ข้าพเจ้าขอยึดเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ข้าพเจ้าขอยึดเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ข้าพเจ้าขอยึดเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก)
ทุติยัมปิ    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
(แม้วาระที่ ๒ ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
แม้วาระที่ ๒ ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก
แม้วาระที่ ๒ ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก)
ตะติยัมปิ   พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ   ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ   สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
(แม้วาระที่ ๓ ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
แม้วาระที่ ๓ ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก
แม้วาระที่ ๓ ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก)
ปาณา ติปาตา เวระมณี สิกขา ปะทังสะมาธิยามิ
(ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเองและไม่ใช่ให้ผู้อื่นฆ่า)
อทินนา ทาณา เวระมณี สิกขา ปะทังสะมาธิยามิ
(ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการลัก ,ฉ้อ ของผู้อื่นด้วยตนเอง และไม่ใช่ให้ผู้อื่นลัก ฉ้อ)
กาเม สุมิฉา จารา เวระมณี สิกขา ปะทังสะมาธิยามิ
(ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม)
มุสา วาทา เวระมณี สิกขา ปะทังสะมาธิยามิ
(ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการพูดเท็จ คำไม่เป็นจริง และคำล่อลวง อำพรางผู้อื่น)
สุราเมระยะ มัชชะปะมา ทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สมาธิยามิ
(ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการดื่มสุรา เมรัย เครื่องดองของทำใจให้คลั่งไคล้ต่างๆ)
อิมานิ ปัญจสิกขา ปทานิ สมาธิยามิ(3 ครั้ง)
(ข้าพเจ้าขอทรงไว้ซึ่งศีลทั้งห้าประการด้วยจิตตั้งมั่น)(3 ครั้ง)
(พระสวดรับรองว่า)
ศีเลนะสุขคติงยันติ 
(ศีล นั้นจักเป็นเหตุให้ถึงความสุข) (ผู้ขอพึงรับ สาธุ )
ศีเลนะโภคะสัมปะทา 
(ศีล นั้นจักเป็นเหตุให้ได้มาซึ่ง โภคทรัพย์) (ผู้ขอพึงรับ สาธุ )
ศีเลนะนิพพุติงยันติ 
(และศีลนั้นยัง จะเป็นเหตุให้ได้ไปถึง นิพพาน คือความดับเย็นจากกิเลศ เครื่องเศร้าหมอง ทั้งปวง)
ตัสสมา ศีลัง วิโสทะเย 
(ศีล จึงเป็นสิ่งที่วิเศษนักที่เธอทั้งหลายพึงยึดถือเป็นหลัก ประจำชีวิต ประจำจิตใจ ปฏิบัติ ให้ได้ ดังนี้ แล) (ผู้ขอพึงรับ สาธุ )


///////////////////////////////////////////////////////////////////////////



บัดนี้ข้าพเจ้า... ตั้งใจรักษาศีลแล้ว, บัดนี้ข้าพเจ้า... คือผู้มีศีล,
ข้าพเจ้าผู้มีศีล ละอาย ต่อการทำความชั่ว กลัว ต่อผลของบาปกรรม,
ข้าพเจ้าผู้มีศีล มีหิริโอตตัปปะ, มีกายเป็นมนุษย์ มีใจเป็นเทวดา,
เป็นมนุสสเทโว เข้าถึงความเป็นสหาย กับเหล่าเทวดาทั้งหลาย,
ขอ เทพ พรหม เทวดาทั้งหลาย ผู้เป็นสหายของข้าพเจ้า ร่วมโมทนาบุญ
และ เมตตา ปกป้อง คุ้มครองรักษา ข้าพเจ้า ด้วยเทอญ.........

และขอให้ข้าพเจ้า......(อธิษฐานตามอัธยาศัย และสมควรแก่เหตุ) เช่น
…จงเดินทางโดยสวัสดิภาพ
…จงได้รับความสำเร็จในการติดต่อการงาน
…จงขายดิบขายดีมีกำไรในการค้า
…จงเข้าถึงมรรค ผล นิพพาน ในชาติปัจจุบันโดยเร็วพลันเทอญ.










คำบูชาพระ, คำอาราธนาศีล 5, สมาทานศีล ๕


ความสำคัญของ ศีล
หากจะกล่าวตามความเข้าใจของผู้เขียน ศีล คือความปกติ ที่พึงรักษาไว้ ศีล5 ข้อการปฏิบัติพื้นฐาน เพื่อความไม่เบียดเบียนตนเอง และ ผู้อื่นในสังคม เพราะฉนั้นเราทุกคนควรรักษาศีล ให้มีความตั้งมั่น รักษาความปกติ ตลอดจนประพฤติปฎิบัติตนให้อยู่ในกรอบถูกต้องตามทำนองครองธรรม และทุกคนสามารถฝึก คําสมาทานศีล ๕ วิธีสมาทาน ศีล 5  บทสมาทานศีล 5 แปล สมาทานศีล 5 ด้วยตนเอง หากเราสามารถระลึกถึงได้ทุกวัน เชื่อได้ว่าจะนำพาไปสู่ความเจริญทั้งทางโลกและทางธรรม

วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

คำบูชาพระ คำอาราธนาศีล 8 สมาทานศีล ๘

คำบูชาพระ,คำอาราธนาศีล 8,สมาทานศีล ๘



คำบูชาพระ

อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ
อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อะภิปูชะยามิ
อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อะภิปูชะยามิ


คำนมัสการพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมา สัมพุทโธภะคะวา พุทธังภะคะวันตัง อภิวาเทมิ(กราบ)
พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์ดับเพลิงกิเลส
เพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ข้าพเจ้าขออภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ)
สะวาขาโต ภะคะวะตาธัมโม ธัมมังนะมัสสามิ(กราบ)
พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า,
ตรัสไว้ดีแล้ว , ข้าพเจ้าขอนมัสการ พระธรรม (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ(กราบ)
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า,
ปฏิบัติดีแล้ว ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

คำขอขมาพระรัตนตรัย

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะฯ (ว่า 3 จบ)
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเตฯ
(ถ้าหลายคนว่า … ขะมะตุโน ภันเต ฯลฯ)

หาก ข้าพระพุทธเจ้า ได้เคยประมาทพลาดพลั้งล่วงเกินต่อพระรัตนตรัย อันมีพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระธรรมและพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ในชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดีด้วยทางกายก็ดี หรือวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี และมีเจตนาก็ดี ไม่มีเจตนาก็ดี ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี ขอองค์สมเด็จพระสัมมรสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระธรรม พระอริยสงฆ์ทั้งหลาย และผู้มีพระคุณทุกท่าน ได้โปรดอดโทษให้แก่ข้าพระพุทธเจ้า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

คำอาราธนาศีล 8

มะยัง ภันเต ติสะระเณนะสะหะ อัฏฐะ สีลานิยาจามะ
(ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอศีล 8 พร้อมกับสรณะ 3)

ทุติยัมปิ มะยังภันเต ติสะระเณนะสะหะ อัฏฐะ สีลานิยาจามะ
(ท่านผู้เจริญ แม้นในวาระที่ 2 ข้าพเจ้าทั้งหลาย
ขอศีล 8 พร้อมกับสรณะ 3)

ตะติยัมปิ มะยังภันเต ติสะระเณนะสะหะ อัฏฐะ สีลานิยาจามะ
(ท่านผู้เจริญ แม้นในวาระที่ 3 ข้าพเจ้าทั้งหลาย
ขอศีล 8 พร้อมกับสรณะ 3)

(ถ้าคนเดียวเปลี่ยนจากคำว่า "มะยัง" เป็น "อะหัง"
และ "ยาจามะ" เป็น "ยาจามิ")

///////////////////////////////////////////////////////////////////////////


สมาทานศีล ๘

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ
(ว่า ๓ จบ)
(ขอนอบน้อมต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ไกลจากกิเลสควรแก่การกราบไหว้บูชา
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง ฯ)
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
(ข้าพเจ้าขอยึดเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ข้าพเจ้าขอยึดเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ข้าพเจ้าขอยึดเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก)
ทุติยัมปิ    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
(แม้วาระที่ ๒ ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
แม้วาระที่ ๒ ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก
แม้วาระที่ ๒ ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก)
ตะติยัมปิ   พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ   ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ   สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
(แม้วาระที่ ๓ ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
แม้วาระที่ ๓ ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก
แม้วาระที่ ๓ ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก)
ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(ข้าพเจ้าขอยึดถือเอาสิกขาบท คือตั้งใจงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตผู้อื่น)
อทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(ข้าพเจ้าขอยึดถือเอาสิกขาบท คือตั้งใจงดเว้นจากการถือเอาสิ่งของ ที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้)
อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(ข้าพเจ้าขอยึดถือเอาสิกขาบท คือตั้งใจงดเว้นจากการประพฤติล่วงละเมิดพรหมจรรย์ )
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(ข้าพเจ้าขอยึดถือเอาสิกขาบท คือตั้งใจงดเว้นจากการพูดคำไม่จริง )
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(ข้าพเจ้าขอยึดถือเอาสิกขาบท คือตั้งใจงดเว้นจากการดื่มสุราและเครื่องดองของเมา อันเป็น
ที่ตั้งแห่งความประมาทขาดสติ)
วิกาละโภชนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(ข้าพเจ้าขอยึดถือเอาสิกขาบท คือตั้งใจงดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลากาล )
นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะ-
มัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(ข้าพเจ้าขอยึดถือเอาสิกขาบท คือตั้งใจงดเว้นจากการฟ้อนรำ จากการขับร้อง จากการประโคม
ดนตรี จากการดูการเล่นชนิดที่เป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ และงดเว้นจากการทัดทรงสวมใส่ประดับตกแต่ง
ด้วยพวงดอกไม้มาลา ของหอม เครื่องย้อมเครื่องทาผิวทั้งหลาย)
อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(ข้าพเจ้าขอยึดถือเอาสิกขาบท คือตั้งใจงดเว้นจากการนั่งและนอนบนที่นอนสูงและที่นอนใหญ่
ซึ่งภายในยัดด้วยนุ่นหรือสำลี)
อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ
(ทั้งหมดนี้คือหัวข้อที่จะต้องศึกษาและปฏิบัติ ๘ ประการ
สีเลนะ สุคะติง ยันติ
ศีลเป็นปัจจัยให้มีความสุข
สีเลนะ โภคะสัมปะทา
ศีลเป็นปัจจัยให้มีโภคสมบัติ
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ
ศีลเป็นปัจจัยให้เข้าถึงพระนิพพาน
ตัสมา สีลัง วิโสธะเย ฯ
เพราะฉะนั้น จงทำจิตให้สะอาดหมดจดด้วยศีลตลอดกาลทุกเมื่อเถิดฯ)

(จากหนังสือสวดมนต์แปล วัดท่าซุง หน้า ๒๘๐-๒๘๓)


เสียงหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง นำ สมาทานศีล ๘











คำบูชาพระ,คำอาราธนาศีล 8,สมาทานศีล ๘


ความสำคัญของ ศีล
หากจะกล่าวตามความเข้าใจของผู้เขียน ศีล คือความปกติ ที่พึงรักษาไว้ เพราะฉนั้นเราทุกคนควรรักษาศีล(ศีล5 หรือ ศีล8) ให้มีความตั้งมั่น รักษาความปกติ อันเป็นหลักการของการไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่นให้ได้รับความเดือดร้อนต่างๆ ตลอดจนประพฤติปฏิบัติตนให้อยู่ในกรอบถูกต้องตามทำนองครองธรรม และทุกคนสามารถฝึก สมาทานศีลแปด การรักษาศีล 8 บทสวดศิล 8 วิธีสมาทานศีล 8 สมาทานศีล 8 อย่างไร การสมาทานศีล 8 ด้วยตนเองได้

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

มรรค 8 ประการ มีอะไรบ้าง

มรรค 8 เป็นธรรมะที่มีความสำคัญยิ่งใน พระพุทธศาสนา มรรคมีองค์8มีอะไรบ้าง มรรคมีองค์8หมายถึง มรรค มี องค์ แปด ประโยชน์ มรรค มี องค์ 8 มรรค 8 ประการ มรรค 8 ได้แก่ ความหมาย มรรค มี องค์ 8
......................................................................................................






อัฏฐกะ - หมวด 8
Groups of Eight
(including related groups)
[***] ฌาน 8 ดู [10] ฌาน 8.

[293] มรรคมีองค์ 8 หรือ อัฏฐังคิกมรรค (เรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่า “ทางมีองค์ 8 ประการ อันประเสริฐ” — the noble Eightfold Path); องค์ 8 ของมรรค (มัคคังคะ — factors or constituents of the Path) มีดังนี้
       1. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจจ์ 4 หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท — Right View; Right Understanding)
       2. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ ได้แก่ เนกขัมมสังกัป อพยาบาทสังกัป อวิหิงสาสังกัป — Right Thought) ดู [69] กุศลวิตก 3
       3. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ ได้แก่ วจีสุจริต 4 — Right Speech)
       4. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ ได้แก่ กายสุจริต 3 — Right Action)
       5. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ — Right Livelihood)
       6. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ ได้แก่ ปธาน หรือ สัมมัปปธาน 4 — Right Effort)
       7. สัมมาสติ (ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 — Right Mindfulness)
       8. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน 4 — Right Concentration)

       องค์ 8 ของมรรค จัดเข้าในธรรมขันธ์ 3 ข้อต้น คือ ข้อ 3-4-5 เป็น ศีล ข้อ 6-7-8 เป็น สมาธิ ข้อ 1-2 เป็น ปัญญา ดู [124] สิกขา 3; [204] อริยสัจจ์ 4; และหมวดธรรมที่อ้างถึงทั้งหมด
       มรรคมีองค์ 8 นี้ ได้ชื่อว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง เพราะเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่จุดหมายแห่งความหลุดพ้นเป็นอิสระ ดับทุกข์ ปลอดปัญหา ไม่ติดข้องในที่สุดทั้งสอง คือ กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค ดู [15] ที่สุด 2

D.II.321;
M.I.61;
M,III.251;
Vbh.235.
ที.ม. 10/299/348;
ม.มู. 12/149/123;
ม.อุ. 14/704/453;
อภิ.วิ. 35/569/307.


ที่มา :  http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%C1%C3%C3%A4



......................................................................................................



คำเทศน์พระหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี 
เทศน์โปรดคุณเพาพงา วรรธนะกุล ณ วัดป่าบ้านตาด เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๘ 
ชื่อกัณฑ์เทศน์ "โลกในเรือนจำกับโลกนอก"

...สัมมากัมมันตะ ก็มีแต่เดินจงกรม นั่งสมาธิ ซึ่งเป็นงานชอบ สัมมากัมมันตะ คือ งานชอบ เพราะเข้าถึงงานอันละเอียดที่ใจรวมเข้ามา จิตเป็น มรรคสมังคี คือมรรครวมตัวเข้ามาสู่ใจดวงเดียว สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป ได้แก่เรื่องของปัญญา ค้นคว้าอยู่ตลอดเวลา เกี่ยวกับเรื่องธาตุเรื่องขันธ์ เรื่องต่าง ๆ ที่ปรากฏหรือสัมผัส เกิดขึ้นแล้วดับไปทั้งดีทั้งชั่วทั้งอดีตและอนาคต ที่ขึ้นมาปรากฏภายในใจ สติปัญญาเป็นผู้ฟาดฟันหั่นแหลกไปโดยลำดับ ไม่รอให้เสียเวล่ำเวลา สัมมากัมมันตะ การงานชอบที่เกี่ยวกับกาย ก็คือการนั่งภาวนาหรือเดินจงกรม อันเป็นความเพียรละกิเลสในท่าต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับทางใจก็คือวิริยะ ความพากเพียรทางใจ
สัมมาวาจา พูดกันแต่เรื่องอรรถเรื่องธรรม การสนทนากันก็มีแต่เรื่อง “สัลเลขธรรม” ธรรมเป็นเครื่องขัดเกลา หรือชำระล้างกิเลสอาสวะออกจากจิตใจ ว่าเราจะทำด้วยวิธีใดกิเลสจึงจะหมดไปโดยสิ้นเชิง นี่คือสัมมาวาจา สัมมาอาชีวะ อารมณ์อันใดที่เป็นข้าศึกต่อจิต เมื่อนำเข้ามาเป็นอารมณ์ของใจเรียกว่า “เลี้ยงชีพผิด” เพราะเป็นข้าศึกต่อจิต จิตต้องมีความมัวหมองไม่ใช่ของดี ต้องเป็นทุกข์ขึ้นมาภายในใจมากน้อยตามส่วนแห่งจิตที่มีความหยาบละเอียดขึ้น ไปโดยลำดับ นี่ก็ชื่อว่า“เป็นยาพิษ” เลี้ยงชีพไม่ชอบ ต้องแก้ไขทันที ๆ
อารมณ์ของจิตที่เป็นธรรม อันเป็นไปเพื่อความรื่นเริง เป็นไปเพื่อความสุขความสบายนั่นแล คืออารมณ์ที่เหมาะสมกับจิต และเป็นอาหารที่เหมาะกับใจ ทำให้ใจเกิดความสงบสุข การเลี้ยงชีพชอบจึงเลี้ยงอย่างนี้ โดยทางธรรมขั้นปฏิบัติต่อจิตเป็นขั้น ๆ ขึ้นไป ส่วนการเลี้ยงชีพชอบทางร่างกายด้วยอาหารหรือบิณฑบาตนั้น เป็นสาธารณะสำหรับชาวพุทธทั่ว ๆ ไปจะพึงปฏิบัติให้เหมาะสมกับหน้าที่ของตน ๆ
สัมมาวายามะ เพียรชอบ เพียรอะไร ? นี่เราก็ทราบ ท่านบอกเพียรใน ๔ สถาน คือพยายามระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในตนหนึ่ง พยายามละบาปที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป การระวังบาปต้องระวังด้วยความมีสติ พยายามสำรวมระวังอย่าให้บาปเกิดขึ้นด้วยสติ คือระวังจิตที่จะคิด เที่ยวกว้านเอาความทุกข์ความทรมานเข้ามาสู่จิตใจนั่นเอง เพราะความคิดความปรุงในทางไม่ดีนั้นเป็นเรื่องของ “สมุทัย” จึงพยายามระวังรักษาด้วยดี อย่าประมาทหนึ่ง พยายามเจริญสิ่งที่เป็นกุศล เป็นความเฉลียวฉลาด ให้มีมากขึ้นโดยลำดับ ๆ หนึ่ง และเพียรระวังรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญยิ่งขึ้น อย่าให้เสื่อมไปหนึ่ง
“สัมมัปปธาน สี่” ที่ท่านว่าก็อยู่ที่ตัวเรานี้แล “สัมมาสติ” ก็ดูอยู่ในใจของเรานี่ การเคลื่อนไหวไปมา ความระลึก ความรู้ตัวนี้ รู้อยู่ตลอดเวลา อะไรมาสัมผัสทางตาทางหูทางจมูก ทางลิ้นทางกาย ไม่เข้าไปสู่ใจจะไปที่ไหน ใจเป็นสถานที่ใหญ่โตคอยรับทราบเรื่องราวต่าง ๆ ทั้งดีทั้งชั่วอยู่ตลอดเวลา ปัญญาเป็นผู้วินิจฉัยใคร่ครวญ สติเป็นผู้คอยดูตรวจตราพาชีอยู่เสมอ ในเมื่ออะไรเข้ามาเกี่ยวข้องกับใจ เป็นดีหรือเป็นชั่ว อารมณ์ชนิดใด สติปัญญาใคร่ครวญเลือกเฟ้นในอารมณ์ต่าง ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับใจ อันใดที่เห็นว่าไม่ชอบธรรม จิตจะสลัดปัดทิ้งทันที ๆ คือปัญญานั่นแหละเป็นผู้ทำการสลัดปัดทิ้ง แน่ะ
“สัมมาสมาธิ” การงานเพื่อสงบกิเลสโดยสมาธิก็มั่นคงอยู่ตลอดเวลา จนปรากฏผลเป็นความสงบเย็นแก่ใจที่พักงานอย่างแท้จริง ไม่มีความฟุ้งซ่านเข้ามากวนใจในขณะนั้นประการหนึ่ง
ในขณะที่จะเข้าสมาธิเป็นการพักผ่อนจิต เพื่อเป็นกำลังของปัญญาในการค้นคว้าต่อไปก็พักเสีย พักในสมาธิ คือเข้าสู่ความสงบ ได้แก่หยุดการปรุงการแต่งการคิดค้นคว้าทางด้านปัญญาโดยประการทั้งปวง ให้จิตสงบตัวเข้ามาอยู่อย่างสบาย ไม่ต้องคิดต้องปรุงอะไรซึ่งเป็นเรื่องของงาน พักจิตให้สบายโดยความมีอารมณ์เดียว หากว่าจิตมีความเพลิดเพลินต่อการพิจารณาไปมากจะยับยั้งไว้ไม่ได้ เราก็เอา “พุทโธ” เป็นเครื่องฉุดลากเข้ามา ให้จิตอยู่กับ “พุทโธ ๆๆ”
คำบริกรรมกับ “พุทโธ” นี้ แม้จะเป็นความคิดปรุงก็ตาม แต่เป็นความคิดปรุงอยู่ในธรรมจุดเดียว ความปรุงอยู่ในธรรมจุดเดียวนั้นเป็นเหตุให้จิตมีความสงบตัวได้ เช่น คำว่า “พุทโธ ๆๆ” หากจิตจะแย็บออกไปทำงานเพราะความเพลิดเพลินในงาน งานยังไม่เสร็จ เราก็กำหนดคำบริกรรมนั้นให้ถี่ยิบเข้าไป ไม่ยอมให้จิตนี้ออกไปทำงาน คือจิตขั้นที่เพลินกับงานนั้นมีอยู่ ถ้าพูดแบบโลกก็ว่า “เผลอไม่ได้” แต่จะว่าจิตเผลอก็พูดยาก การพูดที่พอใกล้เคียงก็ควรว่า “รามือไม่ได้” พูดง่าย ๆ ว่ายังงั้น เรารามือไม่ได้ จิตจะต้องโดดออกไปหางาน ตอนนี้ต้องหนักแน่นในการบริกรรม บังคับจิตให้อยู่กับอารมณ์อันเดียว คือ พุทโธ เป็นเครื่องยับยั้งจิต กำหนด พุทโธ ๆๆๆ ให้ถี่ยิบอยู่นั้น แล้ว พุทโธ กับจิตก็เป็นอันเดียวกัน ใจก็แน่ว สงบลง สงบลงไป ก็สบาย ปล่อยวางงานอะไรทั้งหมด ใจก็เยือกเย็นขึ้นมา นี่คือสมาธิที่ชอบ
ในขณะที่จะพักต้องพักอย่างนี้ ท่านเรียกว่า “สัมมาสมาธิ” เป็นสมาธิชอบ พอสมควรเห็นว่าใจได้กำลังแล้ว เพียงปล่อยเท่านั้นแหละจิตจะดีดตัวออกทำงานทันทีเลย ดีดออกจากความเป็นหนึ่ง ความเป็นอารมณ์อันเดียวนั้น แล้วก็เป็นสองกับงานละทีนี้ ใจทำงานต่อไปอีก ไม่ห่วงกับเรื่องของสมาธิในขณะที่ทำงาน ในขณะที่ทำสมาธิเพื่อความสงบก็ไม่ต้องห่วงกับงานเลยเช่นเดียวกัน
ขณะที่พักต้องพัก เช่นในขณะที่รับประทานต้องรับประทาน ไม่ต้องทำงานอะไรทั้งนั้น นอกจากทำงานในการรับประทาน จะพักนอนหลับก็นอนหลับให้สบาย ๆ ในขณะที่นอนไม่ต้องไปยุ่งกับงานอะไรทั้งสิ้น แต่เวลาที่เริ่มทำงานแล้วไม่ต้องไปยุ่งในเรื่องการกินการนอน ตั้งหน้าทำงานจริง ๆ นี่ได้ชื่อว่าทำงานเป็นชิ้นเป็นอัน ทำงานเป็นวรรคเป็นตอน ทำงานถูกต้องโดยกาลโดยเวลาเหมาะสมกับเหตุการณ์ เรียกว่า สัมมากัมมันตะ “สัมมากัมมันตะ” คือการงานชอบ ไม่ก้าวก่ายกัน เป็นงานที่เหมาะสม
เรื่องสมาธิปล่อยไม่ได้ การปฏิบัติเพื่อความรื่นเริงของใจ การเห็นว่า “สมาธิ” อยู่เฉย ๆ ไม่เกิดประโยชน์นั้นไม่ถูก ถ้าผู้ติดสมาธิไม่อยากออกทำงานเลยอย่างนั้น เห็นว่าไม่ถูกต้องควรตำหนิ เพื่อให้ผู้นั้นได้ถอนตัวออกมาทำงาน แต่ถ้าจิตมีความเพลิดเพลินในงานแล้ว เรื่องของสมาธิก็มีความจำเป็นในด้านหนึ่ง ในเวลาหนึ่งจนได้ คนเราทำงานไม่พักผ่อนนอนหลับบ้างเลยนี้ทำงานต่อไปไม่ได้ แม้จะรับประทานอาหาร สมบัติเสียไปด้วยการรับประทานก็ให้มันเสียไป ผลที่ได้คือธาตุขันธ์มีกำลังจากการรับประทาน ประกอบการงานตามหน้าที่ต่อไปได้อีก เงินจะเสียไป ข้าวของอะไรที่นำมารับประทานจะเสียไป ก็เสียไปเพื่อเกิดประโยชน์ เพื่อเป็นพลังในร่างกายเราจะเป็นอะไรไป ให้มันเสียไปเสียอย่างนี้ ไม่เสียผลเสียประโยชน์อะไร ถ้าไม่รับประทานจะเอากำลังมาจากไหน ต้องรับประทาน เสียไปก็เสียไปเพื่อกำลัง เพื่อให้เกิดกำลังขึ้นมา
นี่การพักในสมาธิ ในขณะที่พักให้มีความสงบ ความสงบนั้นแลเป็นพลังของจิต ที่จะหนุนทางด้านปัญญาได้อย่างคล่องแคล่ว เราต้องพักให้มีความสงบ ถ้าไม่สงบเลยมีแต่ปัญญาเดินท่าเดียว ก็เหมือนกับมีดไม่ได้ลับหิน ฟันตุ๊บ ๆ ตั๊บ ๆ ไม่ทราบว่าเอาสันลงเอาคมลง มีแต่ความอยากรู้อยากเห็น อยากเข้าใจ อยากถอนกิเลสโดยถ่ายเดียว โดยที่ปัญญาไม่ได้ลับจากการพักสงบ อันเป็นสิ่งที่หนุนหลังให้เป็นความสงบเย็นใจ ให้เป็นกำลังของใจ แล้วมันก็เหมือนกับมีดที่ไม่ได้ลับหินน่ะซี ฟันอะไรก็ไม่ค่อยขาดง่าย ๆ เสียกำลังวังชาไปเปล่า ๆ
เพราะฉะนั้นเพื่อความเหมาะสม ในขณะที่พักสงบจิตในเรือนสมาธิต้องให้พัก การพักผ่อนจึงเหมือนเอาหินลับปัญญานั่นเอง การพักธาตุขันธ์ คือสกลกายก็มีกำลัง การพักจิต จิตก็มีกำลังด้วย
พอมีกำลังแล้ว จิตออกคราวนี้ก็เหมือน “มีดได้ลับหินแล้ว” อารมณ์อันเก่านั้นแล ปัญญาอันเก่านั้นแล ผู้พิจารณาคนเก่านั้นแล แต่พอกำหนดพิจารณาลงไป มันขาดทะลุไปเลย คราวนี้เหมือนกับคนที่พักผ่อนนอนหลับ รับอาหารให้สบาย ลับมีดพร้าให้เรียบร้อยแล้ว ไปฟันไม้ท่อนนั้นแล คน ๆ นั้น มีดก็เล่มนั้น แต่มันขาดได้อย่างง่ายดาย เพราะมีดก็คม คนก็มีกำลัง
นี่อารมณ์ก็อารมณ์อันนั้นแล ปัญญาก็ปัญญาอันนั้นแล ผู้ปฏิบัติคนนั้นแล แต่ได้ “ลับหิน” แล้ว กำลังของจิตก็มีแล้วเป็นเครื่องหนุนปัญญา จึงแทงทะลุไปได้อย่างรวดเร็ว ผิดกับตอนไม่ได้พักในสมาธิเป็นไหน ๆ
เพราะฉะนั้นเรื่องของสมาธิกับเรื่องของปัญญา จึงเป็นธรรมเกี่ยวเนื่องกัน เป็นแต่เพียงทำงานในวาระต่าง ๆ กันเท่านั้น วาระที่จะทำสมาธิก็ทำเสีย วาระนี้จะพิจารณาทางด้านปัญญาให้เต็มอรรถเต็มธรรม เต็มเม็ดเต็มหน่วย เต็มสติกำลัง พิจารณาลงไปให้เต็มเหตุเต็มผล เวลาจะพักก็พักให้เต็มที่เต็มฐานเหมือนกัน ให้เป็นคนละเวลาไม่ให้ก้าวก่ายกัน แบบทั้งจะพิจารณาทางด้านปัญญา ทั้งเป็นห่วงสมาธิ เวลาเข้าสมาธิแล้วก็เป็นอารมณ์กับเรื่องปัญญา อย่างนี้ไม่ถูก จะปล่อยทางไหน จะทำงานอะไรให้ทำงานนั้นจริง ๆ ให้เป็นชิ้นเป็นอัน นี่ถูกต้องเหมาะสม สัมมาสมาธิ ก็เป็นอย่างนี้จริง ๆ...




......................................................................................................
มรรค มีองค์8มีอะไรบ้าง มรรคมีองค์8หมายถึง มรรค มี องค์ แปด ประโยชน์ มรรค มี องค์ 8 มรรค 8 ประการ มรรค 8 ได้แก่ ความหมาย มรรค มี องค์ 8









วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ธรรมไหลไปสู่ธรรม โดยไม่ต้องตั้งเจตนา

ธรรมไหลไปสู่ธรรม โดยไม่ต้องตั้งเจตนา เป็นประโยคที่ผมได้รับได้ยินมาแล้วมานั่งคิดพิจารณาดูว่า ความหมายของ ธรรมไหลไปสู่ธรรม โดยไม่ต้องตั้งเจตนา คืออะไรกันแน่จึงลองค้นหาดูและได้ความมาว่า...

มีอยู่วาระหนึ่งที่พระพุทธได้ทรงแสดงถึงอาการที่เรียกว่า
“ธรรมไหลไปสู่ธรรม โดยไม่ต้องตั้งเจตนา”
เรามีหน้าที่เพียงแต่ ดูแลเอาใจใส่และรักษาธรรมให้ดีเท่านั้น
อันเป็นมูลเหตุเบื้องต้น
เพราะเมื่อเหตุดีแล้ว ก็จะผลิตดอกออกผลมาเอง
ส่วนจะเร็วหรือช้านั้น ก็เป็นเรื่องของสภาวะธรรมตามธรรมชาติ
ถ้าจะเปรียบเทียบก็เหมือนกับเราปลูกมะม่วงสักต้นหนึ่ง
หน้าที่ของเราคือ รดน้ำ ใส่ปุ๋ย พรวนดิน กำจัดแมลง
ทำอยู่อย่างนั้นนานนับเดือน นับปี
ต้นไม้ก็เจริญเติบโตขึ้นมาเรื่อย ๆ
แล้วในที่สุด ไม่วันใดก็วันหนึ่ง มันจะต้องผลิดอกออกผลขึ้นมา
ปีแรก ๆ อาจจะมีผลิตผลไม่มาก
แต่ปีต่อ ๆ มาก็จะผลิดอกออกผลมากขึ้นเอง
หน้าที่ของเราจึงมีแต่เพียงศึกษาให้รู้ถึงวิธีการบำรุงรักษา และ
ดูแลบำรุงรักษาต้นไม้นั้นให้ดีที่สุดเท่านั้น
เมื่อเราทำเหตุให้ดีแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องห่วงว่าผลจะออกมาอย่างไร
ฉะนั้น ในการปฏิบัติธรรมเราจึงต้องรักษาจิตให้เป็นศีล
มีความพากเพียรในการเจริญสติ และมีสัมปชัญญะ ให้สืบเนื่อง
ติดต่อกันไปอย่างสม่ำเสมอไม่ขาดตอน
ธรรมทั้งหลายทั้งปวงย่อมจะไหลไปสู่ธรรมตามลำดับ
ตั้งแต่เริ่มต้นไปจนถึงเบื้องปลาย คือ ความหลุดพ้นจากทุกข์เป็นที่สุด
กล่าวคือ
1. เมื่อศีลสมบูรณ์ ไม่มีโทษทางกายวาจาใจ
ไม่มีการเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นแล้ว ก็ไม่ต้องทำ "เจตนา" ว่า
“อวิปปฏิสาร ความไม่เดือดร้อนใจ จงบังเกิดขึ้นแก่เรา” ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า
เมื่อศีลสมบูรณ์แล้ว ความไม่เดือดร้อนใจย่อมเกิดขึ้นเอง
2. เมื่อไม่มีความเดือดร้อนใจแล้วไม่ต้องทำ “เจตนา” ว่า
“ปราโมทย์ ความปลื้มใจ จงบังเกิดแก่เรา” ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า
เมื่อไม่มีความเดือดร้อนใจแล้ว ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้นเอง
3. เมื่อปราโมทย์ คือ ความปลื้มใจเกิดขึ้นแล้ว
ไม่ต้องทำ “เจตนา” ว่า “ปีติ ความอิ่มใจ จงบังเกิดแก่เรา” ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า
เมื่อความปราโมทย์เกิดขึ้นแล้ว ปีติย่อมเกิดขึ้นเอง
4. เมื่อปีติความอิ่มใจเกิดขึ้นแล้ว ไม่ต้องทำ “เจตนา” ว่า
“กายของเราจงระงับเป็นปัสสัทธิ” ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า
เมื่อปีติเกิดขึ้นแล้ว กายย่อมระงับเอง
5. เมื่อกายระงับเป็นปัสสัทธิแล้ว ไม่ต้องทำ “เจตนา” ว่า
“เราจงเสวยสุข” ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า
เมื่อกายระงับเป็นปัสสัทธิแล้ว ย่อมเสวยสุขเอง
6. เมื่อมีความสุขแล้วไม่ต้องทำ "เจตนา" ว่า
“จิตของเรา จงตั้งมั่นเป็นสมาธิ” ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า
เมื่อมีความสุขแล้ว จิตย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิเอง
7. เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว ไม่ต้องทำ "เจตนา" ว่า
“เราจงรู้เห็นตามความเป็นจริง” ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า
เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว ยถาภูตญาณทัสสนะ
คือความรู้เห็นตามความเป็นจริง ย่อมเกิดขึ้นเอง
8. เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะ คือ ความรู้เห็นตามความเป็นจริงเกิดขึ้นแล้ว
ไม่ต้องทำ “เจตนา” ว่า “เราจงเบื่อหน่ายเป็นนิพพิทา” ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า
เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงแล้ว ย่อมเบื่อหน่ายเอง
9. เมื่อเบื่อหน่ายเป็นนิพพิทาแล้ว ไม่ต้องทำ "เจตนา" ว่า
“เราจงคลายกำหนัดเป็นวิราคะ” ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า
เมื่อมีความเบื่อหน่ายแล้ว วิราคะ คือ ความคลายกำหนัด ย่อมเกิดขึ้นเอง
10. เมื่อคลายกำหนัดเป็นวิราคะแล้ว ไม่ต้องทำ "เจตนา" ว่า
“เราจงทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติญาณทัสสนะ คือ ความรู้เห็นว่าจิตหลุดพ้น
จากอาสวะทั้งหลายแล้ว” ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า
เมื่อวิราคะเกิดขึ้นแล้ว วิมุตติญาณทัสสนะย่อมเกิดขึ้นเอง
ด้วยอาการอย่างนี้ เรียกว่า "ธรรมไหลไปสู่ธรรม"
ธรรมย่อมยังธรรมให้เต็ม
เปรียบประดุจกระแสน้ำที่ไหลไปตามลำคลองลงสู่ห้วงมหาสมุทร
น้ำย่อมยังห้วงน้ำให้เต็มได้ฉันใด
ธรรมย่อมยังธรรมให้เต็มได้ฉันนั้น
ผู้ศึกษาและปฏิบัติธรรม จึงควรใช้วิจารณญาณ สังเกตให้เห็นว่า
เราเพียงตั้ง “เจตนา” ในการกระทำให้ถูกต้อง
เป็นสัมมาปฏิบัติก็พอแล้ว
เราไม่ต้องตั้ง “เจตนา” ที่จะคาดหวังให้การกระทำนั้นออกผล
เพราะเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น แถมยังจะทำให้เกิดความกระวนกระวาย
หรือเป็นทุกข์ขึ้นมาอีกด้วย
คนโดยมากมักจะเข้าใจผิดในข้อนี้
นี่แสดงให้เห็นว่า เมื่อรักษาจิต ดำรงจิต และตั้งเจตนาให้ถูกต้อง
ในการกระทำ โดยรักษาศีลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์แล้ว
สมาธิ ปัญญา ความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงก็จะเกิดขึ้นเอง
โดยไม่ต้องตั้งเจตนาที่จะให้เกิด
อริยมรรค 8 โพชฌงค์ 7 สติปัฏฐาน 4 และแม้แต่โอวาทปาฏิโมกข์
ก็อยู่ในที่นั้นครบทั้งหมด กล่าวคือ
เมื่อศีลสมบูรณ์แล้ว “การไม่ทำบาปทั้งปวง” ก็จะสมบูรณ์
เมื่อใจเกิดปีติ ปัสสัทธิ สุข และสมาธิแล้ว
ไม่ว่าจะทำอะไร ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเป็นกุศลไปทั้งหมด
“การทำกุศลให้ถึงพร้อม” ก็จะสมบูรณ์เอง โดยไม่ต้องตั้งใจทำอะไรเป็นพิเศษ
เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง
คือ เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างชัดเจน
เกิดความจางคลายไปแห่งตัณหาและราคะ
เป็นการ “ชำระจิตให้ผ่องแผ้ว”
จนกระทั่งเกิดความรู้เห็นว่า จิตหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง
คือ วิมุตติญาณทัสสนะ ในที่สุด

 
ที่มา : dharma-gateway.com/monk/preach/mitsuo/mitsuo-02-05.htm 
ธรรมไหลไปสู่ธรรม โดยไม่ต้องตั้งเจตนา, ประวัติธรรมไหลไปสู่ธรรม