วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

มรรค 8 ประการ มีอะไรบ้าง

มรรค 8 เป็นธรรมะที่มีความสำคัญยิ่งใน พระพุทธศาสนา มรรคมีองค์8มีอะไรบ้าง มรรคมีองค์8หมายถึง มรรค มี องค์ แปด ประโยชน์ มรรค มี องค์ 8 มรรค 8 ประการ มรรค 8 ได้แก่ ความหมาย มรรค มี องค์ 8
......................................................................................................






อัฏฐกะ - หมวด 8
Groups of Eight
(including related groups)
[***] ฌาน 8 ดู [10] ฌาน 8.

[293] มรรคมีองค์ 8 หรือ อัฏฐังคิกมรรค (เรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่า “ทางมีองค์ 8 ประการ อันประเสริฐ” — the noble Eightfold Path); องค์ 8 ของมรรค (มัคคังคะ — factors or constituents of the Path) มีดังนี้
       1. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจจ์ 4 หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท — Right View; Right Understanding)
       2. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ ได้แก่ เนกขัมมสังกัป อพยาบาทสังกัป อวิหิงสาสังกัป — Right Thought) ดู [69] กุศลวิตก 3
       3. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ ได้แก่ วจีสุจริต 4 — Right Speech)
       4. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ ได้แก่ กายสุจริต 3 — Right Action)
       5. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ — Right Livelihood)
       6. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ ได้แก่ ปธาน หรือ สัมมัปปธาน 4 — Right Effort)
       7. สัมมาสติ (ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 — Right Mindfulness)
       8. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน 4 — Right Concentration)

       องค์ 8 ของมรรค จัดเข้าในธรรมขันธ์ 3 ข้อต้น คือ ข้อ 3-4-5 เป็น ศีล ข้อ 6-7-8 เป็น สมาธิ ข้อ 1-2 เป็น ปัญญา ดู [124] สิกขา 3; [204] อริยสัจจ์ 4; และหมวดธรรมที่อ้างถึงทั้งหมด
       มรรคมีองค์ 8 นี้ ได้ชื่อว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง เพราะเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่จุดหมายแห่งความหลุดพ้นเป็นอิสระ ดับทุกข์ ปลอดปัญหา ไม่ติดข้องในที่สุดทั้งสอง คือ กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค ดู [15] ที่สุด 2

D.II.321;
M.I.61;
M,III.251;
Vbh.235.
ที.ม. 10/299/348;
ม.มู. 12/149/123;
ม.อุ. 14/704/453;
อภิ.วิ. 35/569/307.


ที่มา :  http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%C1%C3%C3%A4



......................................................................................................



คำเทศน์พระหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี 
เทศน์โปรดคุณเพาพงา วรรธนะกุล ณ วัดป่าบ้านตาด เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๘ 
ชื่อกัณฑ์เทศน์ "โลกในเรือนจำกับโลกนอก"

...สัมมากัมมันตะ ก็มีแต่เดินจงกรม นั่งสมาธิ ซึ่งเป็นงานชอบ สัมมากัมมันตะ คือ งานชอบ เพราะเข้าถึงงานอันละเอียดที่ใจรวมเข้ามา จิตเป็น มรรคสมังคี คือมรรครวมตัวเข้ามาสู่ใจดวงเดียว สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป ได้แก่เรื่องของปัญญา ค้นคว้าอยู่ตลอดเวลา เกี่ยวกับเรื่องธาตุเรื่องขันธ์ เรื่องต่าง ๆ ที่ปรากฏหรือสัมผัส เกิดขึ้นแล้วดับไปทั้งดีทั้งชั่วทั้งอดีตและอนาคต ที่ขึ้นมาปรากฏภายในใจ สติปัญญาเป็นผู้ฟาดฟันหั่นแหลกไปโดยลำดับ ไม่รอให้เสียเวล่ำเวลา สัมมากัมมันตะ การงานชอบที่เกี่ยวกับกาย ก็คือการนั่งภาวนาหรือเดินจงกรม อันเป็นความเพียรละกิเลสในท่าต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับทางใจก็คือวิริยะ ความพากเพียรทางใจ
สัมมาวาจา พูดกันแต่เรื่องอรรถเรื่องธรรม การสนทนากันก็มีแต่เรื่อง “สัลเลขธรรม” ธรรมเป็นเครื่องขัดเกลา หรือชำระล้างกิเลสอาสวะออกจากจิตใจ ว่าเราจะทำด้วยวิธีใดกิเลสจึงจะหมดไปโดยสิ้นเชิง นี่คือสัมมาวาจา สัมมาอาชีวะ อารมณ์อันใดที่เป็นข้าศึกต่อจิต เมื่อนำเข้ามาเป็นอารมณ์ของใจเรียกว่า “เลี้ยงชีพผิด” เพราะเป็นข้าศึกต่อจิต จิตต้องมีความมัวหมองไม่ใช่ของดี ต้องเป็นทุกข์ขึ้นมาภายในใจมากน้อยตามส่วนแห่งจิตที่มีความหยาบละเอียดขึ้น ไปโดยลำดับ นี่ก็ชื่อว่า“เป็นยาพิษ” เลี้ยงชีพไม่ชอบ ต้องแก้ไขทันที ๆ
อารมณ์ของจิตที่เป็นธรรม อันเป็นไปเพื่อความรื่นเริง เป็นไปเพื่อความสุขความสบายนั่นแล คืออารมณ์ที่เหมาะสมกับจิต และเป็นอาหารที่เหมาะกับใจ ทำให้ใจเกิดความสงบสุข การเลี้ยงชีพชอบจึงเลี้ยงอย่างนี้ โดยทางธรรมขั้นปฏิบัติต่อจิตเป็นขั้น ๆ ขึ้นไป ส่วนการเลี้ยงชีพชอบทางร่างกายด้วยอาหารหรือบิณฑบาตนั้น เป็นสาธารณะสำหรับชาวพุทธทั่ว ๆ ไปจะพึงปฏิบัติให้เหมาะสมกับหน้าที่ของตน ๆ
สัมมาวายามะ เพียรชอบ เพียรอะไร ? นี่เราก็ทราบ ท่านบอกเพียรใน ๔ สถาน คือพยายามระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในตนหนึ่ง พยายามละบาปที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป การระวังบาปต้องระวังด้วยความมีสติ พยายามสำรวมระวังอย่าให้บาปเกิดขึ้นด้วยสติ คือระวังจิตที่จะคิด เที่ยวกว้านเอาความทุกข์ความทรมานเข้ามาสู่จิตใจนั่นเอง เพราะความคิดความปรุงในทางไม่ดีนั้นเป็นเรื่องของ “สมุทัย” จึงพยายามระวังรักษาด้วยดี อย่าประมาทหนึ่ง พยายามเจริญสิ่งที่เป็นกุศล เป็นความเฉลียวฉลาด ให้มีมากขึ้นโดยลำดับ ๆ หนึ่ง และเพียรระวังรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญยิ่งขึ้น อย่าให้เสื่อมไปหนึ่ง
“สัมมัปปธาน สี่” ที่ท่านว่าก็อยู่ที่ตัวเรานี้แล “สัมมาสติ” ก็ดูอยู่ในใจของเรานี่ การเคลื่อนไหวไปมา ความระลึก ความรู้ตัวนี้ รู้อยู่ตลอดเวลา อะไรมาสัมผัสทางตาทางหูทางจมูก ทางลิ้นทางกาย ไม่เข้าไปสู่ใจจะไปที่ไหน ใจเป็นสถานที่ใหญ่โตคอยรับทราบเรื่องราวต่าง ๆ ทั้งดีทั้งชั่วอยู่ตลอดเวลา ปัญญาเป็นผู้วินิจฉัยใคร่ครวญ สติเป็นผู้คอยดูตรวจตราพาชีอยู่เสมอ ในเมื่ออะไรเข้ามาเกี่ยวข้องกับใจ เป็นดีหรือเป็นชั่ว อารมณ์ชนิดใด สติปัญญาใคร่ครวญเลือกเฟ้นในอารมณ์ต่าง ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับใจ อันใดที่เห็นว่าไม่ชอบธรรม จิตจะสลัดปัดทิ้งทันที ๆ คือปัญญานั่นแหละเป็นผู้ทำการสลัดปัดทิ้ง แน่ะ
“สัมมาสมาธิ” การงานเพื่อสงบกิเลสโดยสมาธิก็มั่นคงอยู่ตลอดเวลา จนปรากฏผลเป็นความสงบเย็นแก่ใจที่พักงานอย่างแท้จริง ไม่มีความฟุ้งซ่านเข้ามากวนใจในขณะนั้นประการหนึ่ง
ในขณะที่จะเข้าสมาธิเป็นการพักผ่อนจิต เพื่อเป็นกำลังของปัญญาในการค้นคว้าต่อไปก็พักเสีย พักในสมาธิ คือเข้าสู่ความสงบ ได้แก่หยุดการปรุงการแต่งการคิดค้นคว้าทางด้านปัญญาโดยประการทั้งปวง ให้จิตสงบตัวเข้ามาอยู่อย่างสบาย ไม่ต้องคิดต้องปรุงอะไรซึ่งเป็นเรื่องของงาน พักจิตให้สบายโดยความมีอารมณ์เดียว หากว่าจิตมีความเพลิดเพลินต่อการพิจารณาไปมากจะยับยั้งไว้ไม่ได้ เราก็เอา “พุทโธ” เป็นเครื่องฉุดลากเข้ามา ให้จิตอยู่กับ “พุทโธ ๆๆ”
คำบริกรรมกับ “พุทโธ” นี้ แม้จะเป็นความคิดปรุงก็ตาม แต่เป็นความคิดปรุงอยู่ในธรรมจุดเดียว ความปรุงอยู่ในธรรมจุดเดียวนั้นเป็นเหตุให้จิตมีความสงบตัวได้ เช่น คำว่า “พุทโธ ๆๆ” หากจิตจะแย็บออกไปทำงานเพราะความเพลิดเพลินในงาน งานยังไม่เสร็จ เราก็กำหนดคำบริกรรมนั้นให้ถี่ยิบเข้าไป ไม่ยอมให้จิตนี้ออกไปทำงาน คือจิตขั้นที่เพลินกับงานนั้นมีอยู่ ถ้าพูดแบบโลกก็ว่า “เผลอไม่ได้” แต่จะว่าจิตเผลอก็พูดยาก การพูดที่พอใกล้เคียงก็ควรว่า “รามือไม่ได้” พูดง่าย ๆ ว่ายังงั้น เรารามือไม่ได้ จิตจะต้องโดดออกไปหางาน ตอนนี้ต้องหนักแน่นในการบริกรรม บังคับจิตให้อยู่กับอารมณ์อันเดียว คือ พุทโธ เป็นเครื่องยับยั้งจิต กำหนด พุทโธ ๆๆๆ ให้ถี่ยิบอยู่นั้น แล้ว พุทโธ กับจิตก็เป็นอันเดียวกัน ใจก็แน่ว สงบลง สงบลงไป ก็สบาย ปล่อยวางงานอะไรทั้งหมด ใจก็เยือกเย็นขึ้นมา นี่คือสมาธิที่ชอบ
ในขณะที่จะพักต้องพักอย่างนี้ ท่านเรียกว่า “สัมมาสมาธิ” เป็นสมาธิชอบ พอสมควรเห็นว่าใจได้กำลังแล้ว เพียงปล่อยเท่านั้นแหละจิตจะดีดตัวออกทำงานทันทีเลย ดีดออกจากความเป็นหนึ่ง ความเป็นอารมณ์อันเดียวนั้น แล้วก็เป็นสองกับงานละทีนี้ ใจทำงานต่อไปอีก ไม่ห่วงกับเรื่องของสมาธิในขณะที่ทำงาน ในขณะที่ทำสมาธิเพื่อความสงบก็ไม่ต้องห่วงกับงานเลยเช่นเดียวกัน
ขณะที่พักต้องพัก เช่นในขณะที่รับประทานต้องรับประทาน ไม่ต้องทำงานอะไรทั้งนั้น นอกจากทำงานในการรับประทาน จะพักนอนหลับก็นอนหลับให้สบาย ๆ ในขณะที่นอนไม่ต้องไปยุ่งกับงานอะไรทั้งสิ้น แต่เวลาที่เริ่มทำงานแล้วไม่ต้องไปยุ่งในเรื่องการกินการนอน ตั้งหน้าทำงานจริง ๆ นี่ได้ชื่อว่าทำงานเป็นชิ้นเป็นอัน ทำงานเป็นวรรคเป็นตอน ทำงานถูกต้องโดยกาลโดยเวลาเหมาะสมกับเหตุการณ์ เรียกว่า สัมมากัมมันตะ “สัมมากัมมันตะ” คือการงานชอบ ไม่ก้าวก่ายกัน เป็นงานที่เหมาะสม
เรื่องสมาธิปล่อยไม่ได้ การปฏิบัติเพื่อความรื่นเริงของใจ การเห็นว่า “สมาธิ” อยู่เฉย ๆ ไม่เกิดประโยชน์นั้นไม่ถูก ถ้าผู้ติดสมาธิไม่อยากออกทำงานเลยอย่างนั้น เห็นว่าไม่ถูกต้องควรตำหนิ เพื่อให้ผู้นั้นได้ถอนตัวออกมาทำงาน แต่ถ้าจิตมีความเพลิดเพลินในงานแล้ว เรื่องของสมาธิก็มีความจำเป็นในด้านหนึ่ง ในเวลาหนึ่งจนได้ คนเราทำงานไม่พักผ่อนนอนหลับบ้างเลยนี้ทำงานต่อไปไม่ได้ แม้จะรับประทานอาหาร สมบัติเสียไปด้วยการรับประทานก็ให้มันเสียไป ผลที่ได้คือธาตุขันธ์มีกำลังจากการรับประทาน ประกอบการงานตามหน้าที่ต่อไปได้อีก เงินจะเสียไป ข้าวของอะไรที่นำมารับประทานจะเสียไป ก็เสียไปเพื่อเกิดประโยชน์ เพื่อเป็นพลังในร่างกายเราจะเป็นอะไรไป ให้มันเสียไปเสียอย่างนี้ ไม่เสียผลเสียประโยชน์อะไร ถ้าไม่รับประทานจะเอากำลังมาจากไหน ต้องรับประทาน เสียไปก็เสียไปเพื่อกำลัง เพื่อให้เกิดกำลังขึ้นมา
นี่การพักในสมาธิ ในขณะที่พักให้มีความสงบ ความสงบนั้นแลเป็นพลังของจิต ที่จะหนุนทางด้านปัญญาได้อย่างคล่องแคล่ว เราต้องพักให้มีความสงบ ถ้าไม่สงบเลยมีแต่ปัญญาเดินท่าเดียว ก็เหมือนกับมีดไม่ได้ลับหิน ฟันตุ๊บ ๆ ตั๊บ ๆ ไม่ทราบว่าเอาสันลงเอาคมลง มีแต่ความอยากรู้อยากเห็น อยากเข้าใจ อยากถอนกิเลสโดยถ่ายเดียว โดยที่ปัญญาไม่ได้ลับจากการพักสงบ อันเป็นสิ่งที่หนุนหลังให้เป็นความสงบเย็นใจ ให้เป็นกำลังของใจ แล้วมันก็เหมือนกับมีดที่ไม่ได้ลับหินน่ะซี ฟันอะไรก็ไม่ค่อยขาดง่าย ๆ เสียกำลังวังชาไปเปล่า ๆ
เพราะฉะนั้นเพื่อความเหมาะสม ในขณะที่พักสงบจิตในเรือนสมาธิต้องให้พัก การพักผ่อนจึงเหมือนเอาหินลับปัญญานั่นเอง การพักธาตุขันธ์ คือสกลกายก็มีกำลัง การพักจิต จิตก็มีกำลังด้วย
พอมีกำลังแล้ว จิตออกคราวนี้ก็เหมือน “มีดได้ลับหินแล้ว” อารมณ์อันเก่านั้นแล ปัญญาอันเก่านั้นแล ผู้พิจารณาคนเก่านั้นแล แต่พอกำหนดพิจารณาลงไป มันขาดทะลุไปเลย คราวนี้เหมือนกับคนที่พักผ่อนนอนหลับ รับอาหารให้สบาย ลับมีดพร้าให้เรียบร้อยแล้ว ไปฟันไม้ท่อนนั้นแล คน ๆ นั้น มีดก็เล่มนั้น แต่มันขาดได้อย่างง่ายดาย เพราะมีดก็คม คนก็มีกำลัง
นี่อารมณ์ก็อารมณ์อันนั้นแล ปัญญาก็ปัญญาอันนั้นแล ผู้ปฏิบัติคนนั้นแล แต่ได้ “ลับหิน” แล้ว กำลังของจิตก็มีแล้วเป็นเครื่องหนุนปัญญา จึงแทงทะลุไปได้อย่างรวดเร็ว ผิดกับตอนไม่ได้พักในสมาธิเป็นไหน ๆ
เพราะฉะนั้นเรื่องของสมาธิกับเรื่องของปัญญา จึงเป็นธรรมเกี่ยวเนื่องกัน เป็นแต่เพียงทำงานในวาระต่าง ๆ กันเท่านั้น วาระที่จะทำสมาธิก็ทำเสีย วาระนี้จะพิจารณาทางด้านปัญญาให้เต็มอรรถเต็มธรรม เต็มเม็ดเต็มหน่วย เต็มสติกำลัง พิจารณาลงไปให้เต็มเหตุเต็มผล เวลาจะพักก็พักให้เต็มที่เต็มฐานเหมือนกัน ให้เป็นคนละเวลาไม่ให้ก้าวก่ายกัน แบบทั้งจะพิจารณาทางด้านปัญญา ทั้งเป็นห่วงสมาธิ เวลาเข้าสมาธิแล้วก็เป็นอารมณ์กับเรื่องปัญญา อย่างนี้ไม่ถูก จะปล่อยทางไหน จะทำงานอะไรให้ทำงานนั้นจริง ๆ ให้เป็นชิ้นเป็นอัน นี่ถูกต้องเหมาะสม สัมมาสมาธิ ก็เป็นอย่างนี้จริง ๆ...




......................................................................................................
มรรค มีองค์8มีอะไรบ้าง มรรคมีองค์8หมายถึง มรรค มี องค์ แปด ประโยชน์ มรรค มี องค์ 8 มรรค 8 ประการ มรรค 8 ได้แก่ ความหมาย มรรค มี องค์ 8









วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ธรรมไหลไปสู่ธรรม โดยไม่ต้องตั้งเจตนา

ธรรมไหลไปสู่ธรรม โดยไม่ต้องตั้งเจตนา เป็นประโยคที่ผมได้รับได้ยินมาแล้วมานั่งคิดพิจารณาดูว่า ความหมายของ ธรรมไหลไปสู่ธรรม โดยไม่ต้องตั้งเจตนา คืออะไรกันแน่จึงลองค้นหาดูและได้ความมาว่า...

มีอยู่วาระหนึ่งที่พระพุทธได้ทรงแสดงถึงอาการที่เรียกว่า
“ธรรมไหลไปสู่ธรรม โดยไม่ต้องตั้งเจตนา”
เรามีหน้าที่เพียงแต่ ดูแลเอาใจใส่และรักษาธรรมให้ดีเท่านั้น
อันเป็นมูลเหตุเบื้องต้น
เพราะเมื่อเหตุดีแล้ว ก็จะผลิตดอกออกผลมาเอง
ส่วนจะเร็วหรือช้านั้น ก็เป็นเรื่องของสภาวะธรรมตามธรรมชาติ
ถ้าจะเปรียบเทียบก็เหมือนกับเราปลูกมะม่วงสักต้นหนึ่ง
หน้าที่ของเราคือ รดน้ำ ใส่ปุ๋ย พรวนดิน กำจัดแมลง
ทำอยู่อย่างนั้นนานนับเดือน นับปี
ต้นไม้ก็เจริญเติบโตขึ้นมาเรื่อย ๆ
แล้วในที่สุด ไม่วันใดก็วันหนึ่ง มันจะต้องผลิดอกออกผลขึ้นมา
ปีแรก ๆ อาจจะมีผลิตผลไม่มาก
แต่ปีต่อ ๆ มาก็จะผลิดอกออกผลมากขึ้นเอง
หน้าที่ของเราจึงมีแต่เพียงศึกษาให้รู้ถึงวิธีการบำรุงรักษา และ
ดูแลบำรุงรักษาต้นไม้นั้นให้ดีที่สุดเท่านั้น
เมื่อเราทำเหตุให้ดีแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องห่วงว่าผลจะออกมาอย่างไร
ฉะนั้น ในการปฏิบัติธรรมเราจึงต้องรักษาจิตให้เป็นศีล
มีความพากเพียรในการเจริญสติ และมีสัมปชัญญะ ให้สืบเนื่อง
ติดต่อกันไปอย่างสม่ำเสมอไม่ขาดตอน
ธรรมทั้งหลายทั้งปวงย่อมจะไหลไปสู่ธรรมตามลำดับ
ตั้งแต่เริ่มต้นไปจนถึงเบื้องปลาย คือ ความหลุดพ้นจากทุกข์เป็นที่สุด
กล่าวคือ
1. เมื่อศีลสมบูรณ์ ไม่มีโทษทางกายวาจาใจ
ไม่มีการเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นแล้ว ก็ไม่ต้องทำ "เจตนา" ว่า
“อวิปปฏิสาร ความไม่เดือดร้อนใจ จงบังเกิดขึ้นแก่เรา” ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า
เมื่อศีลสมบูรณ์แล้ว ความไม่เดือดร้อนใจย่อมเกิดขึ้นเอง
2. เมื่อไม่มีความเดือดร้อนใจแล้วไม่ต้องทำ “เจตนา” ว่า
“ปราโมทย์ ความปลื้มใจ จงบังเกิดแก่เรา” ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า
เมื่อไม่มีความเดือดร้อนใจแล้ว ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้นเอง
3. เมื่อปราโมทย์ คือ ความปลื้มใจเกิดขึ้นแล้ว
ไม่ต้องทำ “เจตนา” ว่า “ปีติ ความอิ่มใจ จงบังเกิดแก่เรา” ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า
เมื่อความปราโมทย์เกิดขึ้นแล้ว ปีติย่อมเกิดขึ้นเอง
4. เมื่อปีติความอิ่มใจเกิดขึ้นแล้ว ไม่ต้องทำ “เจตนา” ว่า
“กายของเราจงระงับเป็นปัสสัทธิ” ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า
เมื่อปีติเกิดขึ้นแล้ว กายย่อมระงับเอง
5. เมื่อกายระงับเป็นปัสสัทธิแล้ว ไม่ต้องทำ “เจตนา” ว่า
“เราจงเสวยสุข” ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า
เมื่อกายระงับเป็นปัสสัทธิแล้ว ย่อมเสวยสุขเอง
6. เมื่อมีความสุขแล้วไม่ต้องทำ "เจตนา" ว่า
“จิตของเรา จงตั้งมั่นเป็นสมาธิ” ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า
เมื่อมีความสุขแล้ว จิตย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิเอง
7. เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว ไม่ต้องทำ "เจตนา" ว่า
“เราจงรู้เห็นตามความเป็นจริง” ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า
เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว ยถาภูตญาณทัสสนะ
คือความรู้เห็นตามความเป็นจริง ย่อมเกิดขึ้นเอง
8. เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะ คือ ความรู้เห็นตามความเป็นจริงเกิดขึ้นแล้ว
ไม่ต้องทำ “เจตนา” ว่า “เราจงเบื่อหน่ายเป็นนิพพิทา” ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า
เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงแล้ว ย่อมเบื่อหน่ายเอง
9. เมื่อเบื่อหน่ายเป็นนิพพิทาแล้ว ไม่ต้องทำ "เจตนา" ว่า
“เราจงคลายกำหนัดเป็นวิราคะ” ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า
เมื่อมีความเบื่อหน่ายแล้ว วิราคะ คือ ความคลายกำหนัด ย่อมเกิดขึ้นเอง
10. เมื่อคลายกำหนัดเป็นวิราคะแล้ว ไม่ต้องทำ "เจตนา" ว่า
“เราจงทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติญาณทัสสนะ คือ ความรู้เห็นว่าจิตหลุดพ้น
จากอาสวะทั้งหลายแล้ว” ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า
เมื่อวิราคะเกิดขึ้นแล้ว วิมุตติญาณทัสสนะย่อมเกิดขึ้นเอง
ด้วยอาการอย่างนี้ เรียกว่า "ธรรมไหลไปสู่ธรรม"
ธรรมย่อมยังธรรมให้เต็ม
เปรียบประดุจกระแสน้ำที่ไหลไปตามลำคลองลงสู่ห้วงมหาสมุทร
น้ำย่อมยังห้วงน้ำให้เต็มได้ฉันใด
ธรรมย่อมยังธรรมให้เต็มได้ฉันนั้น
ผู้ศึกษาและปฏิบัติธรรม จึงควรใช้วิจารณญาณ สังเกตให้เห็นว่า
เราเพียงตั้ง “เจตนา” ในการกระทำให้ถูกต้อง
เป็นสัมมาปฏิบัติก็พอแล้ว
เราไม่ต้องตั้ง “เจตนา” ที่จะคาดหวังให้การกระทำนั้นออกผล
เพราะเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น แถมยังจะทำให้เกิดความกระวนกระวาย
หรือเป็นทุกข์ขึ้นมาอีกด้วย
คนโดยมากมักจะเข้าใจผิดในข้อนี้
นี่แสดงให้เห็นว่า เมื่อรักษาจิต ดำรงจิต และตั้งเจตนาให้ถูกต้อง
ในการกระทำ โดยรักษาศีลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์แล้ว
สมาธิ ปัญญา ความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงก็จะเกิดขึ้นเอง
โดยไม่ต้องตั้งเจตนาที่จะให้เกิด
อริยมรรค 8 โพชฌงค์ 7 สติปัฏฐาน 4 และแม้แต่โอวาทปาฏิโมกข์
ก็อยู่ในที่นั้นครบทั้งหมด กล่าวคือ
เมื่อศีลสมบูรณ์แล้ว “การไม่ทำบาปทั้งปวง” ก็จะสมบูรณ์
เมื่อใจเกิดปีติ ปัสสัทธิ สุข และสมาธิแล้ว
ไม่ว่าจะทำอะไร ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเป็นกุศลไปทั้งหมด
“การทำกุศลให้ถึงพร้อม” ก็จะสมบูรณ์เอง โดยไม่ต้องตั้งใจทำอะไรเป็นพิเศษ
เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง
คือ เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างชัดเจน
เกิดความจางคลายไปแห่งตัณหาและราคะ
เป็นการ “ชำระจิตให้ผ่องแผ้ว”
จนกระทั่งเกิดความรู้เห็นว่า จิตหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง
คือ วิมุตติญาณทัสสนะ ในที่สุด

 
ที่มา : dharma-gateway.com/monk/preach/mitsuo/mitsuo-02-05.htm 
ธรรมไหลไปสู่ธรรม โดยไม่ต้องตั้งเจตนา, ประวัติธรรมไหลไปสู่ธรรม